ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินและการระงับข้อพิพาทในโครงการจัดสรรที่ดิน
คำสำคัญ:
การจัดสรรที่ดิน, ข้อบังคับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร, ข้อจำกัดสิทธิ, การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทบทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินในกรณีการใช้ประโยชน์ในที่ดินจัดสรรและการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น โดยวิเคราะห์ร่วมกับแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเทียบเคียงกับกฎหมายของต่างประเทศ เพื่อนำมาเป็นฐานคิดสำคัญในการเขียนบทความวิชาการเรื่องนี้
ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มีปัญหาที่สำคัญอยู่ 2 ประการ ได้แก่ (1) ปัญหาการกำหนดให้มีการจัดทำระเบียบที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์สาธารณูปโภค การอยู่อาศัย และการจราจรภายในที่ดินจัดสรรไว้หลังจากขั้นตอนของการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเสร็จแล้ว ทำให้ผู้ซื้อไม่มีโอกาสได้พิจารณาเงื่อนไขหรือข้อจำกัดสิทธิใด ๆ ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ และจำต้องอยู่ภายใต้ระเบียบที่ออกมาในภายหลัง แม้จะกระทบต่ออำนาจการใช้กรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งของตนและของส่วนกลางก็ตาม และส่งผลให้เกิดปัญหาข้อพิพาทต่าง ๆ ตามมา และ (2) ปัญหาในพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องไม่ได้กำหนดให้มีกลไกการระงับข้อพิพาทดังกล่าวที่เกิดขึ้นไว้เป็นการเฉพาะ และต้องใช้วิธีการระงับข้อพิพาททั่วไป โดยการใช้สิทธิทางศาล ทำให้ไม่สามารถยุติข้อพิพาทนั้นได้โดยเร็ว ซึ่งทั้ง 2 กรณี ดังกล่าวแตกต่างจากของต่างประเทศ
ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่า ให้ผู้จัดสรรที่ดินมีหน้าที่ต้องกำหนดระเบียบเกี่ยวกับข้อจำกัดสิทธิต่าง ๆ ของผู้ซื้อตั้งแต่ขั้นตอนการยื่นขอรับใบอนุญาตในการจัดสรรที่ดิน เพื่อให้ผู้ซื้อได้ทราบถึงข้อจำกัดสิทธิต่าง ๆ ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ และให้มีบทบัญญัติว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ไว้เป็นการเฉพาะ เพื่อใช้เป็นกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น
References
Anan Mamoaw. (2017). Ownership. Bangkok: Winyuchon.
Ananya Anumas. (2022). Development of the law on the management of juristic persons of housing estates in Thailand [Doctor of Laws, National Institute of Development Administration]. ThaiLIST. http://tdc.thailist.or.th/
Athip Chantanaroj and Sanyalux Panwattanalikit. (2019). In Research report on the problem of ownership rights in land allocation projects: A case study of land allocation projects in Chiang Mai Province. Chiang Mai: Payap University.
Bakay, Eszter, Hutter, Dora and Szilagyi, Kinga. (2011). The evolution of open spaces and green surfaces on high-density developments since 1950. Corvinus University, Budapest.
Civil and Commercial Code.
Ministerial Regulation on Registration, Management, Merger, and Dissolution of Housing Estate Juristic Persons B.E. 2545 (2002)
The Community Land Development Act 1989.
The Community Land Management Act 1989 (CLMA 2021).
The Florida Homeowners’ Association Act.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น