การพัฒนากฎหมายเพื่อป้องกันการตกแต่งบัญชีโดยทุจริตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
การพัฒนากฎหมาย, การตกแต่งบัญชี, ความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชีบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิดหลักการเกี่ยวกับการตกแต่งบัญชีโดยทุจริตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (2) มาตรการทางกฎหมายเพื่อป้องกันการตกแต่งบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ (3) ปัญหาผลกระทบจากการตกแต่งบัญชีโดยทุจริตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และ (4) แนวทางแก้ไขและพัฒนากฎหมายที่ใช้ในการป้องกันการเกิดการตกแต่งบัญชีโดยทุจริตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ไม่ได้บัญญัติให้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่มีความอิสระในการใช้อำนาจกำกับดูแลตรวจสอบการสอบบัญชีไว้เป็นการเฉพาะ ทำให้เกิดปัญหาความเชี่ยวชาญของผู้ตรวจสอบบัญชีและขาดความเป็นเอกภาพ เนื่องจากอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายประเทศไทยไม่ได้ให้ความ สำคัญกับมาตรการที่เกี่ยวกับการจัดการผลประโยชน์ที่จะกระทบต่อบทบาทความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีตลาดทุนยังไม่ใช่เป้าหมายในการกำกับดูแลตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ทั้ง ๆ คือ ส่วนสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือของนักลงทุน
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรแก้ไขปัญหาด้วยการเพิ่มเติมพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 8/1 ให้มีสำนักงานกำกับดูแลด้านการบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มาตรา 8/2 กำหนดอำนาจหน้าที่สำนักงานกำกับดูแลบัญชี มาตรา 62/1 ออกกฎกระทรวงความเป็นอิสระผู้สอบบัญชีกำหนดกิจกรรมต้องห้าม และเพิ่มเติมมาตรา 62/2 กำหนดบทลงโทษสำนักงานสอบบัญชี หากผู้สอบในสังกัดทำผิดการกระทำความผิดตามร่างพระราชบัญญัตินี้
References
Mulford, C. W., Comiskey, E. E., & Nutt, S. R. (1996). Causes of a sudden decline in earnings: Warnings for lenders and loan review Officers. Com. Lending Rev.
Silaporn Srijanphet. (2017). Forensic Accounting. Bangkok: Thammasat University.
Somchai Supatharkul. (2005). Motivation for Profit Manipulation to Achieve Profit Goals. TBS on Corporate Governance–Good Corporate Governance. Bangkok: Thammasat University, Faculty of Commerce and Accountancy.
Securities and Exchange Commission. (2017). Good Corporate Governance Principles for Listed Companies 2017. Retrieved on August 10, 2024, from https://www.sec.or.th/TH/Documents/CompanyHandbooksandGuidelines/CGcode2560_th.pdf
Schroeder, D. A., Penner, L. A., Dovidio, J. F., & Piliavin, J. A. (1995). The psychology of helping and altruism: Problems and puzzles. New York: McGraw-Hill.
Securities and Exchange Act B.E. 2535 (1992). Retrieved on July 25, 2024, from https://www.sec.or.th/TH/Documents/ActandRoyalEnact ment /Act/act-sea2535-codified.pdf
Schipper. (1989). Earnings management. Retrieved July 26, 2024, from https: //www.researchgate.net/publication/290269621_ Earnings _Management
The Stock Exchange of Thailand. (2024). Corporate Governance. Retrieved on July 25, 2024, from https://www.setinvestnow.com/th/glossary/ corporate-governance
Worawit Petcharoon. (2018). Accounting Manipulation Behavior and Related Factors. Journal of Business Administration, Economics, and Communication, 13(1), 29-40.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น