ความสามารถเชิงสมรรถนะตามวิชาชีพ สำหรับเจ้าหน้าที่พยาบาลในการให้บริการชาวต่างชาติที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนของประเทศไทย

Main Article Content

ขวัญใจ วงศ์ช่วย
เกิดศิริ เจริญวิศาล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อกำหนดความสามารถเชิงสมรรถนะตามวิชาชีพสำหรับเจ้าหน้าที่พยาบาลในการให้บริการชาวต่างชาติที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนของประเทศไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความจำเป็นด้านสมรรถนะของเจ้าหน้าที่พยาบาลตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล หัวหน้าแผนก และผู้ปฏิบัติการพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน รวมถึง 3) กำหนดรูปแบบการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ให้บริการ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ

ผลการวิจัย จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 71 ราย จากโรงพยาบาลจำนวน 8 แห่ง สามารถกำหนดความสามารถเชิงสมรรถนะตามวิชาชีพได้ทั้งหมด 25 ข้อ อยู่ในระดับมาก 16 ข้อ ส่วนใหญ่อยู่ใน 3 ด้าน ได้แก่ การดูแลผู้สูงอายุ การดูแลตามโปรแกรมการตรวจสุขภาพ และการบริการด้านการรักษาศัลยกรรมผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นด้านสมรรถนะของกลุ่มตัวอย่างพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 9 ข้อ ส่วนใหญ่อยู่ในด้านการดูแลผู้สูงอายุและการดูแลตามโปรแกรมการตรวจสุขภาพ สามารถจัดองค์ประกอบสมรรถนะที่จำเป็นนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับเจ้าหน้าที่พยาบาล ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ สมรรถนะด้านการดูแลผู้สูงอายุ สมรรถนะด้านการซักประวัติและตรวจร่างกาย สมรรถนะด้านการส่งตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ และสมรรถนะด้านการดูแลรักษาทางการแพทย์

 

The professional competencies for nursing staff to provide services to the foreigners who come to receive treatment in a private hospital in Thailand.

The purposes of this study were 1. To determine professional nursing staff performance capability in providing services for foreigners who come to be treated in a private hospital in Thailand, 2. To compare levels of opinions on necessity of the performance of three sampling groups: nurse managers, chief nurses, and practical nurses in a private hospital, 3. To customize training model for potential development of the service provider. Data were collected by questionnaire, analyzed by using descriptive statistics, one-way analysis of variance, and exploratory factor analysis.

The findings , from 71 samples from 8 hospitals, determined 25 performance capability, 16 items were at high level mainly in three aspects ; caring for the elderly, the health care program, and the surgical treatment. The result of the performance comparison showed significant different opinions in 9 items mainly in elderly care and health care programs. From exploratory factor analysis, the result can be used as a guide line in the development of training courses for nursing staff which were four areas; competency elderly care, history taking and physical examination, prepare to medical diagnostics, and medical care.

Article Details

Section
บทความวิจัย