แนวทางการปรับปรุงกระบวนการเขียนแบบบ้าน กรณีศึกษา บริษัท บ้านดีสถาปนิก จำกัด จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

วีระนันท์ เดชศิริพยัคฆ์
ปณัทพร เรืองเชิงชุม

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษากระบวนการเขียนแบบบ้านและศึกษาสาเหตุของความล่าช้ากระบวนการเขียนแบบบ้าน เพื่อกำหนดแนวทางการปรับปรุงกระบวนการเขียนแบบบ้าน กรณีศึกษา บริษัท บ้านดีสถาปนิก จำกัด จังหวัดสุรินทร์ โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการศึกษางาน การไหลของงาน การศึกษาเวลา ร่วมกับการวิเคราะห์การทำงานโดยใช้เทคนิคคำถาม 5W1H, Why-why chart และเทคนิค ECRS ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตและสัมภาษณ์พนักงานจำนวน 9 คน ผลจากการศึกษา พบว่า กระบวนการเขียนแบบบ้านมี 6 กระบวนการ คือ 1) ฝ่ายขายนัดคุยรายละเอียดกับลูกค้า 2) ฝ่ายออกแบบทำแบบร่างสามมิติ 3) ฝ่ายขายนัดลูกค้าดูแบบร่างสามมิติ 4) ฝ่ายเขียนแบบจัดทำแบบละเอียด 5) ฝ่ายตรวจสอบทำการตรวจแบบละเอียด และ 6) ฝ่ายขายส่งมอบแบบละเอียด ใช้เวลาในการเขียนแบบบ้าน 38 วัน ผลการศึกษาสาเหตุของความล่าช้ากระบวนการเขียนแบบบ้านส่วนใหญ่เกิดจากฝ่ายขายและการตลาดไม่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมฝ่ายออกแบบและฝ่ายเขียนแบบแก้แบบซ้ำ และจากฝ่ายตรวจสอบแบบละเอียดผลจากการกำหนดแนวทางการปรับปรุงกระบวนการเขียนแบบบ้าน พบว่าสามารถกำหนดแนวทาง คือ การจัดทำแบบมาตรฐาน การเพิ่มจำนวนพนักงานการลดขั้นตอนการปรับแก้งาน และการเตือนความจำ จากการดำเนินงานตามแนวทาง พบว่า ใช้เวลาในการเขียนแบบบ้าน 20 วัน ซึ่งลดลง 18 วัน (ร้อยละ 47.47) และสัญลักษณ์ที่ใช้ในการบันทึกการทำงานลดลง 15 สัญลักษณ์ (ร้อยละ 39.47)

 

Guidelines to Improved House Drawing: A Case Study Bandee Architect Co. Ltd., Surin Province

The objectives of this research were to study house drawing process, causes of delay in the process, and to prepare guidelines for improvement: a case study of Bandee Architect Co., Ltd. , Surin province. The study was performed by applying the theories of work study, process analysis, time study with the techniques of 5W1H analysis problem solving and ECRS. Data were collected from observation and interview 9 company employees. The result showed that: the drawing process included 1) customer detail discussion by sale division 2) preparation of 3D designs by design division 3) 3D design presentation and discussion with customer by sale division 4) blueprint preparation by drawing division 5) blueprint details checking by inspector and 6) blueprint delivery to customer. The causes of delay in house drawing process were from sale division lacked of knowledge in architecture and engineering, designs and drawings divisions repeated and rectified work, and waiting time for blueprint detail checking by inspector.Based on the results, the following four approaches were proposed: preparation of standard drawing, increasing number of employee, reducing work process on rectification, and setting of reminding system. After applying the improvement approaches, the records showed that work process time was reduced from 20 to 18 days (47.47%), and 15 signs (39.47%) symbol on drawing process were reduced.

Article Details

How to Cite
เดชศิริพยัคฆ์ ว., & เรืองเชิงชุม ป. (2016). แนวทางการปรับปรุงกระบวนการเขียนแบบบ้าน กรณีศึกษา บริษัท บ้านดีสถาปนิก จำกัด จังหวัดสุรินทร์. MBA-KKU Journal, 9(1), 117–134. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/62466
Section
บทความวิจัย