การสำรวจพฤติกรรมการรับประทานอาหารและแหล่งแคลเซียมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตจังหวัดขอนแก่น เพื่อการจัดการป้องกันโรคกระดูกพรุน

Main Article Content

มัทนาวดี บุพศิริ
ทิพาพร กาญจนราช
รักษวร ใจสะอาด

Abstract

โรคกระดูกพรุนเป็นโรคของผู้สูงอายุซึ่งมีต้นทุนในการรักษาพยาบาลที่สูงแต่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอโดยต้องเริ่มป้องกันตั้งแต่วัยเด็กก่อนที่กระดูกจะหยุดเติบโต การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการรับประทานอาหารและแหล่งอาหารที่มีแคลเซียมในอาหารที่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นรับประทานเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบโปรแกรมส่งเสริมการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมเพื่อการจัดการทางสุขภาพด้านการป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ประชากร คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1- ม.3) ในจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่ม นักเรียนที่ศึกษาในชั้น ม.1 - ม.3 ในปีการศึกษา 2556 รวม 2,940 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และแบบตรวจสอบรายการอาหารที่มีแคลเซียมที่รับประทานโดยบันทึกไปข้างหน้า จำนวน 3 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

หลังเสร็จสิ้นการเก็บข้อมูล มีนักเรียนที่ส่งคืนแบบสอบถาม 1,037 คน แต่ส่งคืนแบบตรวจสอบรายการอาหารเพียง 234 คน ผลการศึกษาจากแบบสอบถามพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารพร้อมกับเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวแทบจะเป็นประจำคิดเป็นร้อยละ 51.7 (537/1,037) อาหารที่รับประทานบ่อย คือ อาหารต้ม ย่าง คิดเป็นร้อยละ 37.3 (387/1,037) และอาหารอีสาน คิดเป็นร้อยละ 39.4 (409/1,037) ผลการศึกษาจากแบบตรวจสอบรายการอาหาร พบว่า การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมในช่วง 3 วันที่จดบันทึก นั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 88.5 (207/234) รับประทานนมและผลิตภัณฑ์จากนมทุกวัน ร้อยละ 62.0 (145/234) รับประทานผักใบเขียวทุกวัน ร้อยละ 61.5 (144/234) รับประทานเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทุกวัน ร้อยละ 54.3 (127/234) รับประทานถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่วทุกวัน ร้อยละ 47.4 (111/234) รับประทานผลไม้ทุกวัน ผลการศึกษาพฤติกรรมดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า การส่งเสริมการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นควรออกแบบอาหารที่เตรียมโดยการต้ม ย่าง และเป็นอาหารอีสาน และส่งเสริมการรับประทานนมและพืชผักใบเขียว ซึ่งเป็นแหล่งแคลเซียมหลักของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นประจำเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนในอนาคต

 

A survey of food consumption behavior and sources of calcium of secondary students in Khon Kaen province for osteoporosis prevention management

Osteoporosis is a symptom commonly found among elderly. The curative cost of osteoporosis is high. However this symptom can be prevented by consuming sufficient amount of calcium since childhood or before the bone stops growing. This cross sectional study aimed to identity food consumption behavior and sources of calcium of secondary students. The findings will be useful in designing and administering a program to promote consumption of calcium containing food in order to prevent osteoporosis. Populations were secondary students (Mathayomsuksa 1-3) in KhonKaen Province. Participants were sampling from secondary students who enrolled in educational year 2013. There were 2,940 studied participants. Data were collected with a questionnaire and calcium-containing food check list. Consumption of calcium-containing food was collected prospectively for three days. Data were analyzed with descriptive statistics.

After the completion of data collection period, 1,037 students returned the questionnaires but only 234 returned the food check lists. Based on data from the questionnaires, it was found that majority of the respondents always had meal with friends or family members (51.7%, 537/1,037), always ate boiled or grilled food (37.3%, 387/1,037) and always ate Northeastern style dishes (39.4%, 409/1,037). Based on data from the check list of calcium consumption during the 3- day survey, it was found that 88.5% (207/234) of the respondents drank milk every day, 62.0% (145/234) ate green vegetable every day, 61.5% (144/234) ate meat and meat products every day, 54.3%(127/234), ate legumes and legume products every day, and 47.4% (111/234) ate fruits every day. The findings of this study suggested that promoting consumption of calcium-containing food among secondary students in order to prevent osteoporosis should focus on designing dishes that prepared by boiling or grilling and the taste should imitate Northeastern style dishes, and promoting consumption of milk and green vegetables since they were the main sources of calcium among secondary students.

Article Details

How to Cite
บุพศิริ ม., กาญจนราช ท., & ใจสะอาด ร. (2016). การสำรวจพฤติกรรมการรับประทานอาหารและแหล่งแคลเซียมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตจังหวัดขอนแก่น เพื่อการจัดการป้องกันโรคกระดูกพรุน. MBA-KKU Journal, 9(1), 187–202. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/62473
Section
บทความวิจัย