แนวทางการส่งเสริมการผลิตกระบือในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

กิรกิตติ์ ผาสุข
ปณัทพร เรืองเชิงชุม

Abstract

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การผลิตกระบือและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาการผลิตกระบือที่ลดลง เพื่อกำหนดแนวทางการส่งเสริมการผลิตกระบือในจังหวัดอุบลราชธานี โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตัวแทนเกษตรกรผู้ผลิตกระบือและตัวแทนเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งหมด 30 คน ผลการศึกษาสถานการณ์การผลิตกระบือในจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ปริมาณการผลิตกระบือในจังหวัดระหว่างปี พ.ศ. 2551 - 2557 มีปริมาณลดลงถึงร้อยละ 40.49 เมื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา พบว่า พื้นที่ที่เป็นแหล่งอาหารของกระบือลดลงขณะที่ผู้เลี้ยงกระบือโดยเฉพาะทายาทของเกษตรกรซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ไม่ให้ความสำคัญในการผลิตกระบือ รวมถึงเกษตรกรยังขาดการวางแผนในกระบวนการผลิตกระบือและการจัดการโรงเรือนให้มีความเหมาะสม ผลจากการศึกษาได้เสนอแนวทางการส่งเสริมการผลิตกระบือในจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่การ ส่งเสริมพืชอาหารสัตว์ในการผลิตกระบือ การส่งเสริมวัฒนธรรมของเกษตรกรในชุมชนให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงกระบือ การส่งเสริมความรู้แก่เกษตรกรในการผลิตกระบือที่ถูกต้อง และการส่งเสริมการทำฟาร์มกระบือในชุมชนต้นแบบเพื่อทำให้ผลผลิตมีคุณภาพที่ดี

 

Approaches to Enhance Productivity of Buffaloes in Ubon Ratchathani Province

This independent study aimed to study the situation of buffalo productivity and analyze the causes of the decrease of buffalo productivity to enhance productivity of buffaloes in Ubon Rachathani province. The data was collected from farmers and government authorities, altogether 30 interviewes based on in-depth interview. It was found that the total amount of buffaloes in Ubon Rachathani province had been decreased from 2008 to 2014 (40.49%). The scarcity of area for breeding was the main problem when analyzed the causes. The new generation as followers did not value buffalo productivity. Farmers also had no strategic planning for management process to make the corral practical. The research findings led to policy planning for supporting buffalo food crop, community should recognize agricultural culture, providing knowledge and promoting the farming model to other communities in the area.

Article Details

Section
บทความวิจัย