แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ศิรินันทน์ พงษ์นิรันดร
โอชัญญา บัวธรรม
ชัชชญา ยอดสุวรรณ

Abstract

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่ วิเคราะห์ศักยภาพในการพัฒนางานด้านการท่องเที่ยว และเสนอแนวทางการจัดการท่องเที่ยวของอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา โดยทำการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่สังเกตการณ์ สำรวจทรัพยากรท่องเที่ยว สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากตัวแทนกลุ่มตัวอย่างเฉพาะที่ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว ประกอบกับการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสอบถามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 300 คน ได้แก่ 1. สอบถามผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวจำนวน 200 คน เพื่อหาข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการและให้บริการด้านการท่องเที่ยวอำเภอวังน้ำเขียวในปัจจุบัน และ 2. สอบถามนักท่องเที่ยวจำนวน 100 คน เพื่อหาข้อมูลด้านพฤติกรรมด้านการท่องเที่ยว รวมไปถึงความพึงพอใจจากการใช้บริการด้านการท่องเที่ยวของอำเภอวังน้ำเขียว การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่สังเกตการณ์ สัมภาษณ์ และจัดประชุม และ 2. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม โดยใช้สถิติเบื้องต้น ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัย พบว่า 1) สิ่งดึงดูดใจด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีให้บริการอย่างเพียงพอและการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างรวดเร็วและสะดวก เป็นปัจจัยที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่ 2) ศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวในปัจจุบันมีทรัพยากรท่องเที่ยว 2 ประเภท ได้แก่ ทรัพยากรท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและทรัพยากรท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีสิ่งอำนวยความสะดวก ครบ คือ ที่พักแรม ร้านอาหาร และธุรกิจนำเที่ยว แต่รถรับจ้าง/รถโดยสารมีให้บริการค่อนข้างน้อย อีกทั้งในขณะนี้พื้นที่มีปัญหาเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดินโดยภาคเอกชนแต่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่กลับมีความพึงพอใจต่อการให้บริการ ด้านทางท่องเที่ยวในระดับมาก 3) แนวทางในการจัดการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่ ด้านทรัพยากรท่องเที่ยวควรออกระเบียบข้อบังคับเพื่อเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากร ท่องเที่ยว ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ควรจัดระบบคมนาคมและการสัญจรให้ชัดเจน พร้อมกับทำป้ายบอกทางให้ถูกต้องและติดตั้งเป็นระยะ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ควรจัดให้มีการบริการที่ครอบคลุมและทั่วถึง ด้านความปลอดภัยควรจัดระบบรักษาความปลอดภัยในแต่ละแหล่งท่องเที่ยว ด้านความสามารถในการรองรับของพื้นที่ควรทำการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยการจัดตั้ง เป็นคณะกรรมการดำเนินการวางแผน การกำหนดแนวปฏิบัติการติดตามและประเมินผลการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในพื้นที่

 

Guidelines for Effective Development In Tourism Management of Wang Nam Khiao District, Nakhon Ratchasima Province

The research objectives were to study attractive factors that involved tourists’ determination for visiting Wang Nam Khiao District, Nakhon Ratchasima province, to analysis potential for tourism, and to present management guidelines for the area. The semi-structure interview had been conducted with 16 people, a workshop was organized for tourism-related stakeholders (state agencies, private sectors, local people and tourists), 200 copies of questionnaire were send out to tourism service providers, and 100 tourists were interviewed. Those were done to gain primary data about tourist behavior, as well as satisfaction which tourists might have paid to service providers. The analysis was separated into two parts; 1) Analyzing qualitative data, via former researches, observations, interviews and workshop, and 2) Analyzing quantitative data, via questionnaire and statistics.

The findings revealed that 1) Natural resources were the main attractive factor of potential tourists, supported by rapid and convenience means for reaching to the area. 2) Abundance of agricultural resources made “agro tourism” evolved, becoming a specific kind of tourism which was a great reputation for Wang Nam Khiao to be another outstanding destination, with many types of accommodation and adequate amount of room to reserve for. However, there were relatively few public transportation and few taxi service within the area. The other incident was illegal invasion of forest area for commercial purposes. 3) The guidelines for effective tourism management in the 6 aspects consisted of tourism resources, access to attractions, facilities, security, capability of the area, and community participation.

Article Details

Section
บทความวิจัย