การออกแบบการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียนเพื่อส่งเสริมผลลัพธ์การเรียนรู้ รายวิชาทักษะชีวิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การออกแบบการเรียนรู้, ผลลัพธ์การเรียนรู้, วิชาทักษะชีวิตบทคัดย่อ
แนวคิดในการออกแบบการเรียนการสอน มีจุดมุ่งหมายการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านความรู้หรือด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ด้านเจตคติหรือความรู้สึกหรือด้านจิตพิสัย (Affective Domain) และด้านทักษะหรือด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) ในการออกแบบการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียน มีความสำคัญในการพัฒนาให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการออกแบบการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนและผู้สอนร่วมออกแบบการเรียนด้วยกัน ผู้สอนต้องเข้าใจผู้เรียน ต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ และต้องมีความตระหนักถึงสถานการณ์ในการเรียนรู้ การนำหลักการออกแบบการเรียนรู้ที่ได้ประยุกต์มาจากกระบวนการทำงานจากวงจรคุณภาพ PDCA และมาสังเคราะห์ออกมาเป็นขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียน ส่งผลให้นักศึกษามีผลลัพธ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และมีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ที่ดีขึ้น
References
กรมวิชาการ. (2544). การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดตามพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ
พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหลักสูตรกรมวิชาการ.
กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา. (2536). บทบาทของกรมวิชาการกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ:
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์เลิฟ
เพรส.
วรรณี ลิมอักษร. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. สงขลา: พิมพ์ลักษณ์ สงขลา.
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช. (2562). คู่มือบริหารหลักสูตร. นครศรีธรรมราช. วิทยาลัย
พยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช.
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช. (2562). รายละเอียดรายวิชาทักษะชีวิต. นครศรีธรรมราช.
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช.
Bloom Benjamin S., et al. 1956. Taxonomy of Educational Objectives. New York : David Mckay
Company
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์