Jintrawase: Rong-ngang Song in Thai Muslim wedding

Authors

  • Sanya Phaophuechphandhu

Keywords:

จินตราวาเซะ, ตารีลีเล็ง, งานแต่งงานมุสลิม

Abstract

รองแง็ง หรือ รองเง็ง เป็นศิลปะการแสดงของคนไทยมุสลิม นิยมบรรเลงเพื่อความบันเทิง  และได้รับความนิยมในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง  รองแง็ง ประกอบด้วยการบรรเลงดนตรีและเต้นรำ  ดนตรีรองแง็งเป็นดนตรีที่นิยมบรรเลงในงานมงคล  ปัจจุบันนี้มีเหลือไม่มากนัก   คณะรองแง็งอัสลีมาลา   เป็นคณะรองแง็งที่ได้รับการถ่ายทอดจาก ครูขาเดร์  แวเด็ง ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2536 และ ครูเซ็ง  อาบู ศิลปินพื้นบ้านจังหวัดปัตตานี  โดยรวบรวมนักดนตรีที่สนใจสืบสานวงรองแง็งและพัฒนารูปแบบการแสดงให้ทันสมัย สามารถรองรับงานต่าง ๆ ในชุมชนได้  ต่อมาได้พัฒนาระบำรองแง็งขึ้น จากการนำเพลง “จินตราวาเซะ” ที่เป็นบทเพลงรองแง็งของเก่า ใช้จังหวะอินัง มีรูปแบบเป็นเพลงสองตอน (Binary form) การใช้กลุ่มจังหวะ (Pattern) คือ การเดี่ยวรำมะนา กับ ฆ้อง ในส่วนของท่ารำ นำความเชื่อและพิธีกรรมการรักษาโรคของคนมุสลิมโบราณ  ใช้แนวคิดการสร้างสรรค์งานโดยประยุกต์จากพิธีกรรมการรักษาโรคมลายูโบราณ ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่ใช้เพื่อประกอบพิธีกรรมรักษาโรคด้วยไฟ และเทียน  กลายเป็นการพัฒนาเป็นชุดบทเพลงระบำที่มีชื่อว่า “ตารีลีเล็ง” โดยคําว่า ตารี หมายถึง ระบํา    ส่วนคำว่า ลีเล็ง  หมายถึงเปลวเทียนที่โชติช่วง นิยมนำมาใช้บรรเลงในงานมงคลสมรสของชาวมุสลิม เนื่องด้วยให้ความหมายในเชิงการอวยพรให้มีชีวิตรุ่งเรือง มีสุขภาพแข็งแรงและมีชีวิตที่รุ่งโรจน์เหมือนแสงเทียน

Downloads

Published

2019-05-14

How to Cite

Phaophuechphandhu, S. (2019). Jintrawase: Rong-ngang Song in Thai Muslim wedding. Mahidol Music Journal, 2(1), 21–32. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mmj/article/view/189255

Issue

Section

Academic Article