กระบวนการถ่ายทอดความรู้และเทคนิคการบรรเลงขลุ่ยในบทเพลงไทยลูกทุ่ง

ผู้แต่ง

  • ณัฐภัทร เรืองบุญ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์, มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม, ไทย
  • ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน วิทยาลัยดุริยางคศิลป์, มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม, ไทย
  • ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล วิทยาลัยดุริยางคศิลป์, มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม, ไทย

คำสำคัญ:

กระบวนการถ่ายทอดความรู้, เทคนิคการบรรเลงขลุ่ย, บทเพลงไทยลูกทุ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีวประวัติของผู้เชี่ยวชาญด้านการบรรเลงขลุ่ยในบทเพลงไทยลูกทุ่ง ศึกษากระบวนการถ่ายทอดความรู้และเทคนิคการบรรเลงและสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Study) โดยศึกษาแบบปรากฏการณ์วิทยาแนวการตีความ (Interpretative Phenomenology) กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบรรเลงขลุ่ย 7 ท่าน โดยใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation)

ผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 7 ท่าน มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านการบรรเลงขลุ่ยในบทเพลงไทยลูกทุ่ง กระบวนการถ่ายทอดความรู้และเทคนิคในการบรรเลงขลุ่ยในบทเพลงไทยลูกทุ่งที่ผู้เชี่ยวชาญใช้ ประกอบด้วย หลักการถ่ายทอดความรู้ วิธีการในการถ่ายทอดความรู้สำหรับเด็กและวิธีสำหรับผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ ขั้นตอนในการถ่ายทอดความรู้และจิตวิทยาในการสอน นอกจากนี้พบเทคนิคที่ใช้ในการบรรเลง ได้แก่ การนั่งและท่าทาง การจับขลุ่ย การใช้ลม การเลือกใช้ระบบนิ้ว การคัดเลือกขลุ่ย และการคัดเลือกบทเพลง ซึ่งได้พบปรากฎการณ์ที่สะท้อนความหมาย ดังนี้ ภูมิหลังของกระบวนการถ่ายทอดความรู้ พบว่าผู้เชี่ยวชาญนำประสบการณ์ในอดีตมาปรับใช้ในการสอนขลุ่ย พัฒนาการจากขลุ่ยไทยสู่ขลุ่ยไทยคีย์สากล พบว่าขลุ่ยมีการพัฒนาเรื่องวัสดุอุปกรณ์และเรื่องระบบเสียง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับเทคนิคการบรรเลงขลุ่ย พบการปรับเทคนิคให้เหมาะสมกับการบรรเลงในบทเพลงไทยลูกทุ่ง การดำรงชีพของคนขลุ่ยในปัจจุบัน พบว่าคนขลุ่ยในปัจจุบันสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย เช่น นักดนตรีในห้องบันทึกเสียง นักสร้างสรรค์เนื้อหา และการเรียนรู้ในยุคใหม่ พบว่าการเรียนดนตรีไทยสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อออนไลน์ที่มีเนื้อหาที่ครบถ้วน การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบไปด้วยบทที่ 1 ประวัติของผู้เชี่ยวชาญ บทที่ 2 กระบวนการถ่ายทอดความรู้ บทที่ 3 เทคนิคการบรรเลงขลุ่ยในบทเพลงไทยลูกทุ่ง

References

Bhumithavara, Krittavit. “The Legend of the Thai Country Music Teacher, Suraphon Sombatcharoen.” Document Submitted to Narongchai Pidokrajt, Unpublished, 2014. (in Thai)

Damronglerd, Chintana. “Evolution and Elements of Country Music.” In Half a Century of Thai Country Music Part 2, Edited by Anake Nawigamune, 40-49. Bangkok: Amarin Printing Group, 1991. (in Thai)

Dema, Jiraphan. “Electronic Book.” Academic Services Journal 13, no. 1 (January-April 2002): 1-14. (in Thai)

Kanchanapradit, Jarun. Khlui. Khon Kaen: Khon Kaen University Press, 2011. (in Thai)

Kasemsuk, Rangsi. Khlui Worldview. Bangkok: Faculty of Education, Srinakharinwirot University, 1992. (in Thai)

Kongpinitbovorn, Ratchakrit. “Contemporary Music is a New Paradigm for Teaching Music Education in the 21st Century.” Bansomdej Music Journal 1, no. 1 (January-June 2019): 49-66. (in Thai)

Krobthong, Siriporn. The Evolution of Thai Country Songs in Thai Society. Bangkok: Panthakit, 2004. (in Thai)

Naewsoong, Pannawit, and Varin Rasameprom. “A Development of Electronic Book on the Thai Musical Instruments for Prathomsuksa 4 Students.” Chandrakasem Rajabhat University Journal 20, no. 38 (January-June 2014): 77-85. (in Thai)

Nakasawat, Uthit. Thai Music Theory and Practice, Part 2, Thai String Instrument Practice Manual. Bangkok: Prayurawong, 1982. (in Thai)

Narkkong, Anant. “Thai Contemporary Music Bands and Works in present Thai society.” Research Report, Office of Contemporary Art and Culture, Ministry of culture, 2013. (in Thai)

Phongsiri, Banlue, and Peep Konglaithong. “Advice from Tiab Konglaithong on Khlui.” In Memorial Book for the Cremation Ceremony of Tieb Konglaithong, 99-109. Bangkok: Liang Chiang, 1982. (in Thai)

Roongruang, Panya. History of Thai Music. Bangkok: Thai Wattana Press, 2003. (in Thai)

Sriklindee, Thanis. Honoring the Artist Khlui Playing the Royal Compositions. Bangkok: Nawasan Press, 2008. (in Thai)

Suebwong, Chumchon. “An Analysis of The Khlui Playing Techniques by Ajarn Tanis Sriklindee on His Majestic King Bhumibol Adulyadej’s Compositions.” Master’s Thesis, Srinakharinwirot University, 2009. (in Thai)

Suttachitt, Narutt. Music Education Principles and Essence. Bangkok: Chulalongkorn University Press, 2018. (in Thai)

Treenet, Pornchai. “Technique for Playing Khlui.” Interview by Nutthapat Ruangboon, April 11, 2023.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-08

How to Cite

เรืองบุญ ณ., โพธิกาวิน ธ., & พร้อมสุขกุล ป. (2024). กระบวนการถ่ายทอดความรู้และเทคนิคการบรรเลงขลุ่ยในบทเพลงไทยลูกทุ่ง. Mahidol Music Journal, 7(2), 54–71. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mmj/article/view/271240