เพลงเปล: ฉันทลักษณ์ ความหมาย ทำนอง และภาพสะท้อนสังคมชาวป่าตอง จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • จารุวัฒน์ นวลใย คณะวิเทศศึกษา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, วิทยาเขตภูเก็ต, ภูเก็ต, ไทย

คำสำคัญ:

เพลงเปล, เพลงกล่อมเด็ก, เพลงกล่อมลูก, ป่าตอง, ภูเก็ต

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่องเพลงเปล: ฉันทลักษณ์ ความหมาย ทำนอง และภาพสะท้อนสังคม
ชาวป่าตอง จังหวัดภูเก็ตนี้ มุ่งนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับเอกลักษณ์เพลงเปลเพลงพื้นบ้านของป่าตอง การศึกษาด้านภาษา ได้แก่ ฉันทลักษณ์ การใช้ถ้อยคำ และการสื่อความหมาย การศึกษาด้านดนตรีวิเคราะห์ทำนองร้องที่มีความโดดเด่น ครอบคลุมเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการแปลงทำนองร้องให้เป็นไปตามสำเนียงการออกเสียงภาษาถิ่นโดยใช้หลักการศึกษาตามรูปแบบมานุษยวิทยาดนตรี และดนตรีวิทยาในส่วนสังคีตลักษณ์วิเคราะห์ การศึกษาพบว่าโครงสร้างฉันทลักษณ์เป็นกลอนชาวบ้าน มีความยืดหยุ่น การกำหนดจำนวนคำและตำแหน่งการสัมผัสคำเนื้อหาบทร้องสะท้อนภาพทางสังคมวัฒนธรรมของชาวป่าตอง 8 ด้าน ประกอบด้วย 1) ภาพสะท้อนด้านวิถีความเป็นอยู่ 2) การสอนความรับผิดชอบขยันอดทน 3) ค่านิยมการยกลูกสาวให้แก่คนทำมาหากิน 4) ขนมที่ใช้ในงานประเพณีทางพระพุทธศาสนา 5) คติเตือนใจอย่ามุ่งหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง 6) สถานที่สำคัญของภาคใต้ 7) การมีคู่ครอง และ 8) คำเตือนใจหญิง เพลงเปลป่าตองใช้เสียงภาษาถิ่นประกอบด้วย 3 ระดับเสียง เทียบได้กับเสียงมี เสียงซอล และเสียงลา สำเนียงภาษาท้องถิ่นเป็นตัวกำหนดทำนองร้องเพลงเปล นอกจากนี้เพลงเปลในบริบทภาพสะท้อนสังคมป่าตองที่นำเสนอมีความแตกต่างไปจากสังคมป่าตองในบริบทปัจจุบันเปลี่ยนแปลงจากวิถีเกษตรกรรมกลายเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

References

Amatayakul, Poonpit. Music Appreciation: Basic Knowledge of Thai Music for Appreciation. Bangkok: Raksipp, 1986. (in Thai)

Chimnoo, Supaporn, Poonpit Amatyakul, and Nachaya Natchanawakul. "Studies of the Southern Lullaby, Je-Hay Dialect (Tak-Bai-Tumpat)." Humanities Journal 25, no. 1 (January-June 2018): 133-154. (in Thai)

Culler, Jonathan. Literary Theory: A Very Short Introduction. Translated by Sunanta Wannasin Bell. Bangkok: Bookscape, 2018. (in Thai)

Kunanurak, Mullika. Lullaby songs for Southern Thai Muslims. Yala: Soem Printing, 1981. (in Thai)

Ketsiri, Kamol. Music in Thai. Bangkok: Prakaipruek, 1984. (in Thai)

Pakmaluk, Satit. “I-San Local Wisdom From Lullaby Ethnic Thai Lao, Thai Yoy, Phuthai, and Thai Nyaw in Sakon Nakhon Province.” Chophayom Journal 26, no.1 (January-June 2015): 23-34. (in Thai)

Parphatsorn, Phatooramphai. "Use of Nakhon Tritrueng Storytelling for Identity Building in Public Relations Work of Kamphaeng Phet Province." Journal of Management Science Pibulsongkram Rajabhat University 5, no. 1 (January-April 2023): 15-31. (in Thai)

Pinphuttasin, Sommai. Phuket's Local Literature. Phuket: Phuket Cultural Center, 1989. (in Thai)

Thongsakul, Rungrat. "Lullabies: Reflections Related to the Culture of Lamphi Subdistrict, Thai Mueang District, Phang Nga Province." Journal of Roi Et Rajabhat University 15, no. 3 (September-December 2021): 134-143. (in Thai)

Tkach, Anna. "Lullaby Songs and Their Role in the Context of Traditional Culture." Accessed May 10, 2020. https://doi.org/10.31866/2616-7581.3.2.2020.219168.

Traiyawong, Kongkrit. "Paul Ricoeur on Narrative Identity." Master's thesis, Chulalongkorn University, 2007. (in Thai)

Wongsatayanont, Charn. Tourism Log of Phuket Province. Bangkok: Rongpim Thongkamol, 2009. (in Thai)

Yodto, Raphin. Stories from The Elders. Phuket: Patong Municipal Education Office, 2009. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-17

How to Cite

นวลใย จ. (2024). เพลงเปล: ฉันทลักษณ์ ความหมาย ทำนอง และภาพสะท้อนสังคมชาวป่าตอง จังหวัดภูเก็ต. Mahidol Music Journal, 7(2), 122–139. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mmj/article/view/272915