การสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดนตรีพิณเปี๊ยะในดินแดนล้านนา
คำสำคัญ:
พิณเปี๊ยะ, ล้านนา, การสืบทอดบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม คุณค่า การดำรงอยู่และการสืบทอดของพิณเปี๊ยะในดินแดนล้านนา โดยเป็นการศึกษาองค์ความรู้และการสืบทอดพิณเปี๊ยะจากศิลปินผู้เชี่ยวชาญพิณเปี๊ยะในดินแดนล้านนาจำนวน 9 คน ผลการศึกษาพบว่า
พิณเปี๊ยะ 1-5 สาย เสียงโอเวอร์โทนของสายป๊อกแบ่งออกเป็น 3 ตำแหน่งหลัก คือ โน้ต ซ ร ซ (G D G) หรือ ล ม ล (A E A) โดยเป็นเสียงคู่ 5 และคู่ 4 ตามลำดับ เปี๊ยะ 2-5 สาย กลุ่มแนวทำนองมีการตั้งสายป๊อกและสายจกในรูปแบบเสียงคู่ 2 คู่ 3 คู่ 4 และคู่ 5 คุณค่าของพิณเปี๊ยะในล้านนามีความเกี่ยวพันถึงความเชื่อทางศาสนาพุทธพราหมณ์ ความงดงามทางศิลปะลวดลาย และเสียงอันศักดิ์สิทธิ์ของพิณเปี๊ยะ
จากการศึกษาการสืบทอดพิณเปี๊ยะในปัจจุบัน พบว่า การสืบทอดพิณเปี๊ยะมีการกระจายตัวในดินแดนล้านนา ซึ่งแบ่งออกตามพื้นที่ได้ทั้งหมด 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มเชียงใหม่และลำพูน กลุ่มลำปาง กลุ่มเชียงราย และกลุ่มแพร่และน่าน จากการศึกษารูปแบบการสืบทอดพิณเปี๊ยะในดินแดนล้านนา พบว่า การสืบทอดพิณเปี๊ยะมีรูปแบบที่หลากหลาย ประกอบด้วย การสืบทอดสายตรง การสืบทอดสายข้างเคียงและสายประยุกต์ การสืบทอดสายนักวิชาการและนักวิจัย การสืบทอดจากเทคโนโลยีและสื่อการสอน และการสืบทอดจากการสร้างบทบาทและหน้าที่ของพิณเปี๊ยะในสังคมดนตรีล้านนาสมัยใหม่ การสืบทอดพิณเปี๊ยะในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตามสังคมโลกาภิวัฒน์โดยมีการสร้างอัตลักษณ์พิณเปี๊ยะที่หลากหลายเพื่อให้เสียงของพิณเปี๊ยะดำรงอยู่ในสังคมและวัฒนธรรมดนตรีล้านนาต่อไปในอนาคต
References
Chalad, Teerapong. "Performance Methods of Pin Piah Song Sai by Kru Rakkiet Panyayot." Master's thesis, Chulalongkorn University, 2008. (in Thai)
Chanlerd, Thodsaporn. "Transmission of Lanna Traditional Music by Prince Sunthorn Na Chiang Mai." Master's thesis, Chulalongkorn University, 2021. (in Thai)
Dyck, Gerald P. "Doing My Part to Save the Pin Pia (พิณเปี๊ยะ)." In Musical Journeys in Northern Thailand, 142-151. Assonet, MA: Minuteman Press of Fall River, 2009.
Dyck, Gerald P. "The Vanishing Phia: An Ethnomusicological Photo Story." In Selected Reports in Ethnomusicology, Edited by David Morton, 217-229. Los Angeles: University of California Los Angeles, 1975.
Jaila, Buranapan. "The Local Wisdom of Lanna Musical Instrument for Inherit the Making Lanna Musical Instrument and Support the Strengthening Culture." Rajabhat Chiang Mai Research Journal 21, no. 1 (January-April 2020): 45-61. (in Thai)
Leosiripong, Prasit. "Pia: The Bell Mesmerising Sound in Lanna." In Pang Noja An Outstanding Award in Cultural Achievement, Performing Arts (Folk Music - Phin Pia), 74-77. Chiang Rai: Office of the National Culture Commission, 1995. (in Thai)
Masiri, Pipatpong. "Introducing the Ideology of Musical Identity." MFU Connexion Journal of Humanities and Social Sciences 5, no. 1 (January-June 2016): 146-165. (in Thai)
McGraw, Andrew. "The Pia's Subtle Sustain: Contemporary Ethnic Identity and the Revitalization of the Lanna 'Heart Harp'." Asian Music 38, no. 2 (Summer-Autumn 2007): 115-142.
Musikarun, Ratchavit. "An Analytical Study of 'Pia' Compositions." Master's thesis, Mahidol University, 2004. (in Thai)
Nettl, Bruno. "The Continuity of Change: On People Changing Their Music." In The Study of Ethnomusicology: Thirty-One Issues and Concepts, 272-281. Champaign, IL: University of Illinois Press, 2005.
Samitthitham, Narong. Remembering Bunma Chaimano 1922-2005. Bangkok: Office of The National Culture, Ministry of Culture, 2005. (in Thai)
Shahriari, Andrew. "Lanna Music and Dance: Image and Identity in Northern Thailand." PhD diss., College of Fine and Professional Arts of Kent State University, 2001.
Somchandra, Songkran. "A Bibliography of Gerald P. Dyck in Lanna Music." In Lanna Music Backs Home: Gerald P. Dyck and Ethnomusicology in Lanna Music, 19-26. Chiang Mai: Chiang Mai Rajabhat University, 2016. (in Thai)

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของเจ้าของบทความ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นทัศนะของผู้เขียน
กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่รับผิดชอบต่อบทความนั้น