บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมความมีใจรักและพลังขับเคลื่อน (Passion) ในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ทรายแก้ว จันทร์แจ่มฟ้า
ลิขิตกุล กุลรัตนรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของความมีใจรักและพลังขับเคลื่อน (Passion) ในการปฏิบัติงานของครู 2) เพื่อศึกษาระดับการแสดงบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมความมีใจรักและพลังขับเคลื่อน (Passion) ในการปฏิบัติงานของครู 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมความมีใจรักและพลังขับเคลื่อน (Passion) กับความมีใจรักและพลังขับเคลื่อน (Passion) ในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจาก 12 โรงเรียน จำนวน 375 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความมีใจรักและพลังขับเคลื่อน (Passion) ในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร 5 ด้าน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการแสดงบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมความมีใจรักและพลังขับเคลื่อน (Passion) ในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร 7 บทบาท ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) การแสดงบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมความมีใจรักและพลังขับเคลื่อน (Passion) ในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2566, จาก https://www.moe.go.th/360policyand-focus-moe-2023/

กอบกุล ต๊ะปะแสง. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ครรชิต ทรรศนะวิเทศ. (2562). แรงจูงใจในการทำงานกับผลประกอบการ Motivation to work with earnings. วารสารรัชต์ภาคย์, 13(28), 124-133.

จิราพร โสตแก้ว. (2565). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ในอาชีพของข้าราชการครู สังกัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เนตรนภา นมัสไธสง. (2563). บทบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 8(1), 315-328.

ปราณี ใจบุญ. (2561). การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความต้องการภายใน ความสนใจและเป้าหมายการสอนที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสอนของครู (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2566, จาก http://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7805

ปิยสุดา พะหลวง. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการสร้างแรงจูงใจในการทํางานตามความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์, 9(1), 89-99.

พลพัต รัตนอนันต์. (2566). การปรับปรุงการบริหารงานบุคคลของกระทรวงกลาโหมด้วยการประยุกต์ใช้การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 14(1). สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2566, จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ndsijournal/article/view/265488

มารุตศักดิ์ แสงวิจิตร และทิวัตถ์ มณีโชติ. (2564). ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่นในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(1), 1-18.

วาสิตา บุญสาธร. (2556). การสร้างความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนเพื่อนำประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์, 7(1), 307-355.

สำนักข่าวอิศรา. (2564, 19 พฤศจิกายน). กางปัญหา ฟังเสียงครู เปิดเหตุผล ‘ทำไมอยากลาออก’ เมื่องานไม่ได้มีแค่สอนนักเรียน. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2566, จาก https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/104320-isranews-221.html

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2564). การเสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เป็นข้าราชการที่ดี. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2567, จาก https://www.ocsc.go.th/blog/2022/06

อาจินต์ แซ่อุน และสฎายุ ธีระวณิชตระกูล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความทุ่มเทในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 12(3). สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2566, จาก http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2561Vol12No3%20_1143.pdf

Day, C. (2009). A Passion for Quality: Teachers Who Make A Difference. Tijdschrift Voor Lerarenopleiders, 30(3), 4-13.

Glickman, C. D., Gordon, S. P., & Ross-Gordon, J. M. (2001). Supervision and Instructional Leadership: A Developmental Approach. Boston: Allyn & Bacon.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Organisation for Education Co-operation and Development. (2019). PISA 2018 Results (Volume III): What School Life Means for Students’ Lives. Retrieved October 10, 2023 from https://

doi.org/10.1787/acd78851-en

Vallerand, R. J. (2016). The Dualistic Model of Passion: Theory, Research, and Implications for the Field of Education. In W. Liu, J. Wang, R. Ryan. (Eds.), Building Autonomous Learners (p. 31-58). Berlin: Springer.