นิเวศวิทยาวัฒนธรรมชาวไทอีสานในชุมชนบ้านร่องหวาย ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพแวดล้อม สถานการณ์ทางสังคม และวัฒนธรรมของชุมชนบ้านร่องหวาย ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย 2) ความสัมพันธ์ระหว่างกายภาพและสิ่งแวดล้อมกับสังคมวัฒนธรรมของชุมชนบ้านร่องหวาย 3) การเปลี่ยนแปลงของนิเวศวิทยาวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทอีสาน และ 4) แนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านร่องหวาย ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ใช้กระบวนการศึกษาตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต การสัมภาษณ์ และการจัดเวทีชุมชน ในตัวแทนชุมชนหมู่บ้านร่องหวาย หมู่ 2 และหมู่บ้านใหม่ร่องหวาย หมู่ 11 ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย
ผลการวิจัย พบว่า สภาพแวดล้อม สถานการณ์ทางสังคม และวัฒนธรรมของชุมชนบ้านร่องหวาย มีประวัติการก่อตั้งหมู่บ้านในพื้นที่ ก่อนปี พ.ศ. 2500 ขนาดของชุมชนเริ่มแรกมีประชากรอยู่ประมาณ 50 หลังคาเรือน ยังขึ้นตรงกับบ้านดงมหาวันหมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งก่อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ. 2541 บ้านร่องหวายได้แยกออกเป็น 2 หมู่บ้านตามการแบ่งเขตการปกครองและการขยายตัวของครัวเรือนคือบ้านร่องหวายหมู่ 2 เดิม และบ้านใหม่ร่องหวายหมู่ 11 ในปัจจุบันเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีลักษณะชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท โดยมีวัดร่องหวาย เป็นศูนย์รวมด้านประเพณี ความเชื่อ ความศรัทธา และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางพุทธศาสนา ส่วนการเปลี่ยนแปลงของนิเวศวิทยาวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ระหว่างกายภาพ สิ่งแวดล้อมกับสังคมวัฒนธรรมของชุมชนบ้านร่องหวาย พบว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของบ้านร่องหวายเป็นไปตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน และพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงประกอบไปด้วย การดำรงชีวิต สภาพเศรษฐกิจ ทั้งภายในชุมชนเอง และภายนอกชุมชน หลักการเชิงนิเวศวิทยาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวางแผนการจัดการการพัฒนาด้านการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของคนบ้านร่องหวาย พบว่าในอดีตจนถึงปัจจุบันการดำเนินการใดๆก็ตามเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรมีความสำคัญหรือส่งผลต่อสภาวะแวดล้อมกายภาพชีวภาพได้ทั้งในทางบวกและในทางลบ ส่วนการศึกษาแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านร่องหวาย ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย พบว่าข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาชุมชน/สังคมบ้านร่องหวายจากการจัดเวทีชุมชนร่วมกับตัวแทนชาวบ้าน ผู้นำ และตัวแทนจากหน่วยงาน กลุ่มต่างๆในชุมชน มีแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของชุมชนควรมีการบูรณาการอย่างมีส่วนร่วม โดยคำนึงถึงผลที่เกิดกับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน การเป็นชุมชนพึ่งตนเอง และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
จำนงค์ อัปภัย และคณะ. (2557). รูปแบบการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามแนวคิดนิเวศวัฒนธรรม ของตําบลบัวมาศ อําเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ : 20 ฉบับที่ : 2 เลขหน้า : 77-88 ปีพ.ศ. : 2557
มศรี ศิริขวัญชัย. (2541). การวิเคราะห์เชิงนิเวศวิทยาวัฒนธรรมเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ : กรณีศึกษาชุมชนมอญเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
วาริน จันทศรี. (2546). งานหัตถกรรมผู้ไท : การใช้วัสดุ ภูมิปัญญาและความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตในเรือนผู้ไท. ขอนแก่น : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วศินา จันทรศิริ และสิริพิชญ์ วรรณภาส. (2543). สังคมและวัฒนธรรมที่สะท้อนวิถีการจัดความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมของมนุษย์. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
อธิราชย์ นันขันตี. (2558). การนับถือผีของชาวไทยย้อ : ความสัมพันธ์ด้านความเชื่อและนิเวศวิทยาวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยบูรพา
อรศิริ ปาณินท์. (2548). นิเวศวิทยาวัฒนธรรมของหมู่บ้านไทเขิน : เชียงตุง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบนิเวศ วิถีชีวิต และเรือนไทเขินในเชียงตุง. วารสารระแนง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 4 หน้า 136-147 แหล่งข้อมูล https://anchan.lib.ku.ac.th /kukr/handle/003/20832 สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2559