ความหลากหลายทางชีวภาพสู่ความมั่นคงทางอาหารของชาติพันธุ์ ในลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำโขง : กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพสู่ความมั่นคงทางอาหารของชาติพันธุ์ในลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำโขง : กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหลากหลายของชนิดพรรณพืชและสัตว์ที่เป็นอาหารของคนในชุมชนตามภูมิปัญญาของชาติพันธุ์ 9 กลุ่ม ในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ไทยวน ไทลื้อ ไทใหญ่ เมี่ยน ปกาเกอะญอ อาข่า ลีซู ลาหู่ และลาว ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหาร ตำรับ และคุณค่าทางโภชนาการของอาหารชาติพันธุ์ และเสริมสร้างชุมชนให้มีความรู้ในการผลิตและการบริโภคอาหารจากทรัพยากรท้องถิ่นที่มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร (Good Hygiene Practice : GHP) โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม กับประชากรที่เป็นผู้รู้และผู้นำในชุมชน จำนวน 76 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย การสำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาความหลากหลายของชนิดพรรณพืช พบว่า มีชนิดพรรณพืชที่เป็นพืชสมุนไพร และ พืชอาหาร จำนวน 495 ชนิด จัดอยู่ใน 121 วงศ์ พรรณพืชที่พบส่วนมาก อยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE รองลงมาคือ MORACEAE, COMPOSITAE, LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE, ZINGIBERACEAE, GRAMINEAE, RUBIACEAE, LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE, LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE และวงศ์ SOLANACEAE ตามลำดับ พันธุ์สัตว์ที่พบว่าสามารถนำมาประกอบอาหารได้มีจำนวน 72 ชนิด อันประกอบด้วย สัตว์น้ำคือพวกปลาต่าง ๆ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน
ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหารพบว่าชุมชนมีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การตั้งกฎระเบียบเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์ธรรมชาติ เช่น ทำแนวกันไฟ ปลูกต้นไม้ บวชป่า ทำฝายชะลอน้ำ โดยปัจจัยที่ทำให้กิจกรรมประสบผลสำเร็จคือ การที่ชุมชนมีความรัก หวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติของตนเอง มีความรู้ ความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของคนกับป่าโดยเฉพาะการพึ่งพิงในด้านทรัพยากรน้ำ และแหล่งอาหาร นอกจากนี้ยังได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานภายนอกในการสนับสนุนงบประมาณทำกิจกรรมดังกล่าว เช่น หน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบล กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพรรณพืช กรมป่าไม้ เป็นต้น
ผลการศึกษาตำรับและคุณค่าทางโภชนาการของชาติพันธุ์ในลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำโขง จังหวัดเชียงราย
พบว่า ทุกกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ลุ่มน้ำกก และลุ่มน้ำโขง มีแหล่งอาหารที่สำคัญ จากป่าชุมชน แม่น้ำ ห้วยหนอง ผลผลิตจากการเกษตร และเนื้อสัตว์ที่ได้จากตลาด รวบรวมพบตำรับอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 9 กลุ่ม จำนวน 74 ตำรับ ดังนี้คือกลุ่มชาติพันธุ์ ลีซู 11 ตำรับ เมี่ยน อาข่า ไทย-ลาว ไทใหญ่ ไทลื้อ กลุ่มชาติพันธุ์ละ 9 ตำรับ ปกาเกอะญอ 8 ตำรับ และลาหู่ 5 ตำรับ และได้มีการทดลองและพัฒนาตำรับให้เป็นตำรับมาตรฐานจำนวน 3 ครั้ง ได้นำตัวอย่างตำรับอาหารมา 66 ตำรับ เพื่อวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของตำรับอาหารทุกตำรับ ตามหลักโภชนาการคือการคำนวณพลังงานอาหารทั้งหมดที่ได้รับต่อ 1 ตำรับ โดยวิเคราะห์ พลังงาน โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต กากและใยอาหาร เถ้า แคลเซียม โปเทคเซียม เหล็ก เบต้า-แคโรทีน วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง ไนอะซิน และวิตามินซี
ส่วนการเสริมสร้างให้ชุมชนมีความรู้ในการผลิตและการบริโภคอาหารจากทรัพยากรท้องถิ่นที่มีความปลอดภัย ตามมาตรฐาน สุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร ผ่านการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในชุมชน โดยได้วิเคราะห์การผลิตอาหารของแต่ละชุมชนตามหลักสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหารและเครื่องดื่มและวางแผนเพื่อการพัฒนา
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
ธนันชัย มุ่งจิต. (2555). ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพด้านความมั่นคงทางอาหารบ้านแม่สุริน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่อ่องสอน. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช..
นุชจรินทร์ แกล้วกล้า. (2549). ผักพื้นบ้านอาหารต้านโรค. บทความเผยแพร่ทางวิทยุกระเสียง โดย สำนักบริการวิชาการ ม.บูรพา. สืบค้นจาก: https://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=1383.เมื่อ 25 กรกฎาคม 2559.
เพ็ญพรรณ กาญภิญโญ และคณะ .(2548). ภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้านของชุมชนพื้นเมืองและชนเผ่าลุ่มแม่น้ำกก จากห้วยหมากเลี่ยมถึงบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
รณิดา ปิงเมือง และคณะ. (25521). การจัดการความรู้ด้านชีววัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำโขง ส่วนที่ 1 : กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย. เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
รำไพ ปัญญาพรหม. (2545). การจัดทำตำรับมาตรฐานและหาคุณค่าทางโภชนาการของอาหารพื้นบ้านชาวยอง. เชียงใหม่ :
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วาสนา ศรีจำปา. (2557). วิถีชีวิตกับความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่ป่าชุมชนโนนใหญ่ ตำบลเสียว อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภาวี ปั้นนพศรี. (2550). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของประชากรในอำเภอลาลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
วิสุทธิ์ ใบไม้. (2548). ความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรม และสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : ชวนพิมพ์.
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ. (2549). คู่มือประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรวิทยากรท้องถิ่น. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
สินี โชติบริบูรณ์ และคณะ.(2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการภายใต้บริบทชุมชนสะเนพ่อง ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุดาวรรณ ขันธมิตร. (2538). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติในภาคกลาง. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.