นิเวศวิทยาวัฒนธรรมกับการจัดการทรัพยากรชุมชนหมู่บ้านอาข่าสองแควพัฒนา เทศบาลตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน วิถีการดำเนินชีวิตอัตลักษณ์ทางภูมิปัญญา และนิเวศวิทยาวัฒนธรรม เพื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำรงและสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและ เสนอแนวทางดำรงและสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าบ้านสองแควพัฒนา เทศบาลตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้นำศาสนาและปราชญ์ชาวบ้านในบ้านสองแควพัฒนา จำนวน 20 คน จาก การสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและไม่มีมีสวนร่วมและการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า บ้านสองแควพัฒนาเป็นหมู่บ้านที่พึ่งพิงวิถีชีวิตกับความหลากหลายทางชีวภาพของป่า ชีวิตและประกอบอาชีพหลักที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับทรัพยากรที่อยู่ใกล้กับชุมชน มีอัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาที่น่าสนใจ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของ 3 มิติ คือ คนกับคน คนกับทรัพยากรทางธรรมชาติและคนกับสิ่งที่เหนือธรรมชาติ โดยแสดงให้เห็นต่อการประกอบพิธีกรรมในรอบปีของชาวอาข่านั้น มีอัตลักษณ์ทางนิเวศวิทยาวัฒนธรรม นอกจากนี้รูปแบบและกิจกรรมในพื้นที่ป่าของชุมชนบ้านสองแควพัฒนานั้นได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลแม่ยาวในด้านของกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากร โดยพิธีที่ โดดเด่นคือ “ซึงชูโละ” เป็นรูปแบบการช่วยกันอนุรักษ์พื้นที่ป่าชุมชน มีการปลูกป่าทดแทนและทุกๆคนในหมู่ได้เข้าร่วมในพิธีกรรมนี้ โดยไม่มีข้อขัดแย้งทางด้านศาสนา และมีพิธีการไหว้ต้นน้ำและ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า “อิซอลดูดู่” เป็นการเข้าไปทำความสะอาดบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์และการขอขมาโดยผู้นำทางศาสนา ซึ่งเป็นประเพณีที่ยังมีการอนุรักษ์ไว้อย่างเหนียวแน่น แม้ว่า หลายครัวเรือนจะมีการเปลี่ยนศาสนาเป็นศาสนาคริสต์แล้วก็ตาม
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำรงและสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าบ้านสองแควพัฒนา ได้แก่ การเปลี่ยนการนับถือผีเป็นการนับถือศาสนาคริสต์แทน เนื่องจากความซับซ้อนและความหลากหลายของพิธีกรรม บวกกับสภาพเศรษฐกิจของปัจจุบันที่ไม่เอื้อต่อการดำรงชีวิต การพัฒนาของภาครัฐ ในการดำเนินนโยบายที่ไม่สอดคล้องในการดำรงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชน ทำให้ชุมชนต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมให้เอื้อกับการดำเนินกิจกรรมของภาครัฐ แต่ละเลยความเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมเดิมของตนเอง ความเจริญของสังคมเมือง เยาวชนถูกผลักออกนอกชุมชนเข้าสู่สังคมเมือง จึงทำให้ขาดการดำรงและสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า การทำความเข้าใจสถานการณ์ของชุมชนโดยให้คนชุมชนวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาของชุมชนอย่างแท้จริง ผ่านกลไกของเทศบาลตำบลแม่ยาว และมีการเข้ามาดูแลของกลุ่มประชาคมในพื้นที่ จึงจะเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาของชุมชนบ้านสองแควพัฒนาได้เป็นอย่างดี
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
จุฑาพรรณ์ (จามจุรี) ผดุงชีวิต. (2551). วัฒนธรรม การสื่อสาร และอัตลักษณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ ปริ้นส์ จำกัด.
ดี.อี.จี.ฮอลล์. (2549). ชนชาติเขมรและสมัยพระนครในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : สุวรรณภูมิ-อุษาคเนย์ภาคพิสดาร. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพวรรณ อินนันทนานนท์. (2557). “วัฒนธรรมชนผ่าอาข่ากับเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์”วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ม.ค.-มิ.ย. 2557 หน้า 80-99.
นิยพรรณ (ผลวัฒนะ) วรรณศิริ. (2550). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.
ปวีณา ทองบุญยัง. (2556). “รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านบาก ตำบลบ้านบาก อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร”. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 มีนาคม-เมษายน 2556.
มูลนิธิกระจกเงา. (2556). พิพิธภัณฑ์ชาวเขา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.hilltribe.org/thai/, สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2557.
ยศ สันตสมบัติ และคณะผู้วิจัย. (2547). นิเวศวิทยาชาติพันธุ์ ทรัพยากรชีวภาพและสิทธิชุมชน.เชียงใหม่: บริษัทวิทอินดีไซด์ จำกัด.
สมชาย นิลอาธิ. (2554). ทฤษฎีนิเวศวิทยาวัฒนธรรม. [ออนไลน์แหล่งที่มา:www.huso.buu.ac.th/cai/sociology/research2/group3/steward.html.2554, สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2558.
อัญชลี หาญฤทธิ์. (2552). “สิทธิชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กับการใช้อำนาจผ่านเส้นแผนที่” ชาติพันธุ์สัมพันธ์ลุ่มน้ำโขง:มองพลวัตรผ่านมุมวิชาการท้องถิ่น, บรรณาธิการ โดย มาฆะ ขิตตะสังฆะ และชาญคณิต อาวรณ์ หน้า 61-71. เชียงใหม่ สันติภาพแพ็คพริ้นส์,