วรรณกรรมท้องถิ่น : การฟื้นฟูเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์หนองหลวง ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัยเวียง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

จำเริญ ฐานันดร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อสำรวจบริบทและการจัดการการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของหนองหลวง  2) เพื่อศึกษา รวบรวม และสังเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นที่สอดคล้องกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของหนองหลวง และ 3) เพื่อสร้างสื่อชุดภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของหนองหลวง เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสำรวจบริบทและการจัดการการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของหนองหลวง แบบสัมภาษณ์เจาะลึกเกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถิ่นหนองหลวง รายการบันทึกเสียงและภาพเกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถิ่นหนองหลวงและแบบประเมินสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของหนองหลวง  กลุ่มประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้รู้หรือปราชญ์ ผู้นำท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเขตพื้นที่หนองหลวง จำนวน 50 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอแบบบรรยายความ  ผลการวิจัย พบว่า


  1. บริบทและการจัดการการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของหนองหลวง มีการดำเนินงานตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2512 โดยสำนักงานเทศบาลตำบลสิริเวียงชัย สำนักงานอำเภอเวียงชัย และสำนักงานจังหวัดเชียงราย มีการค้นพบพระพุทธรูปและวัตถุโบราณพร้อมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยเชื่อมโยงสถานที่จริงกับสถานที่ที่ปรากฏในตำนานหนองหลวง

  2. วรรณกรรมท้องถิ่นที่สอดคล้องกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ได้แก่ ตำนานหนองหลวง ซึ่งเป็น ตำนานที่อธิบายสาเหตุการเกิดหนองหลวงว่าเกิดจากอาถรรพ์ที่ชาวเมืองฆ่าและพากันกินปลาไหลเผือก ในสมัยพระเจ้ามหาไชยชนะเป็นผู้ครองนครโยนกไชยบุรี เมื่อศักราช 370 ทำให้เมืองยุบตัวกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ และเกิดสถานที่ที่สัมพันธ์กับตำนานหนองหลวงได้แก่ เกาะแม่หม้าย แม่น้ำกก หมู่บ้านร่องเบ้อ น้ำแม่ลาว ถ้ำวังปู่อุด เป็นต้น

  3. สื่อชุดภาษาไทยและภาษาอังกฤษเรื่องตำนานหนองหลวงที่จัดทำขึ้น สามารถนำไปเผยแพร่และใช้เป็นคู่มือสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของหนองหลวง ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงรายได้

Article Details

บท
บทความ

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม2558,
จาก http://www.tat.or.th.

ชนัญ วงษ์วิภาค. (2545). ประโยชน์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ใน เอกสารการสอนชุดวิชา ประสบการณ์วิชาชีพการ
จัดการการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). มารู้จักหนังสือท่องเที่ยวเชิงนิเวศกันเถอะ. จุลสารการท่องเที่ยว 18(1): 9.
____________. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท เพรสแอนด์ ดีไซน์ จำกัด.
____________. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน = Sustainable Tourism Development.กรุงเทพฯ: ศูนย์วิชาการ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ประเวช ราชชมภู. (2550). ชร.ทุ่ม 200 ล.ขุดลอกอ่างเก็บน้ำ-ฟื้นเมืองโบราณอายุกว่าพันปี. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx

พยอม ธรรมบุตร. (2548). เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่องหลักการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพฯ:
สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ลือชัย จุลาสัยและคณะ.(2531). โครงการพัฒนาหนองหลวง อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. เชียงใหม่: สำนักบริการวิชาการ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2558). พระเจ้าพรหมมหาราช. (ออนไลน์). แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org
____________. (2558). อาณาจักรพุกาม. (ออนไลน์). แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org
____________. (2558). อำเภอเวียงชัย. (ออนไลน์). แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org

วิเชียร ณ นคร. (2531). การศึกษานิทานพื้นบ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช : ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้
วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช.

อังคณา จิรดา. (2556). ฮือฮา! พบดงพระเก่ากลางหนองหลวง เล็งทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว-ปฏิบัติธรรม. ท้องถิ่นนิวส์.
มิถุนายน: 1,8,10