พฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” เขตภาคเหนือ

Main Article Content

อาภากร บุญปั๋นดิ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา     “แม่ฟ้าหลวง” เขตภาคเหนือ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” เขตภาคเหนือ และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะพฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารที่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้ของครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” เขตภาคเหนือ จำนวน 8 ด้าน ประกอบด้วย   ด้านภาวะผู้นำ  ด้านการจูงใจ ด้านการติดต่อสื่อสาร  ด้านการปฏิสัมพันธ์  ด้านการตัดสินใจ  ด้านการกำหนดนโยบาย ด้านการควบคุม  และด้านการฝึกอบรม โดยใช้ประชากรในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอและข้าราชการครูที่ปฏิบัติและรับผิดชอบงานศูนย์ การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา   “แม่ฟ้าหลวง” เขตภาคเหนือ ปีการศึกษา 2556 ประกอบด้วย 9 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 118 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเพื่อศึกษาพฤติกรรมบริหารงานของผู้บริหารศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” เขตภาคเหนือ สถิติที่ใช้ใน  การวิเคราะห์ข้อมูลคือความถี่ (f) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (µ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s)


ผลการวิจัยพบว่า


  1. พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” เขตภาคเหนือ ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเช่น เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการฝึกอบรม ด้านการควบคุม ด้านภาวะผู้นำ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการจูงใจ ด้านการตัดสินใจ ด้านการปฏิสัมพันธ์และด้านการกำหนดนโยบาย ตามลำดับ

  2. พฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” เขตภาคเหนือ ทั้งในภาพ และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่ส่งผลมากที่สุดคือด้านการตัดสินใจ รองลงมาคือ ด้านการปฏิสัมพันธ์ ด้านการกำหนดนโยบาย ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการฝึกอบรม ด้านการจูงใจ      ด้านการควบคุม และด้านภาวะผู้นำ ตามลำดับ

  3. ข้อเสนอแนะพฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารที่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้ของครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” เขตภาคเหนือ คือ ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นใน การปฏิบัติงานของสถานศึกษา สนับสนุนให้ครูมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และให้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน ควรสร้างความเข้าใจร่วมกันในหมู่ครูเกี่ยวกับแนวทางและเป้าหมายการปฏิบัติงาน ควรมีการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน และ               ให้กำลังใจการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความ

References

ชัชวาล ฉายมงคล. (2550). กรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). ระเบียบการวิจัยทางสังคม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรสวรรค์ สุวพรสถิตกุล. (2553). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐาน
คุรุสภาตามความเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัตนา สนั่นเอื้อ . (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาและผลการดําเนินงาน การประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สํานักงานเขตบึงกุม สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันราชภัฏ จันทรเกษม.

เลียงศักดิ์ เบี้ยนศิริ. (2548). พฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตอำเภอแปลงยาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนัก อุกระโทก. (2551). พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอวังสมบูรณ์ สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

อดิศร เสริมสุนทรศิลป์. (2546). พฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดชลบุรี. ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอาชีวศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

Likert, R. (1967). Organization of human Management and its value , New York : McGraw – Hill.