ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่องเวลา โดยการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

อมรรัตน์ เหล่าบุญมา

บทคัดย่อ

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่องเวลา โดยการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 มีวัตถุประสงค์การวิจัยสามประการได้แก่ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการสอนด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคลก่อนเรียนและหลังเรียน (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการสอนด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคลกับการสอนแบบปกติ และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเวลา ที่ได้รับการสอนด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ จำนวน 435 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 110 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง จำนวนกลุ่มละ 55 คน เครื่องมือที่ใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เวลา และ แบบสอบถามวัดความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Dependent t test)


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่องเวลา โดยการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยการการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยเฉลี่ยสูงขึ้นก่อนเรียน 5.04 คะแนน

  2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าการเรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉลี่ยของการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) สูงกว่าการเรียนแบบปกติอยู่ 1.82 คะแนน

  3. ความพึงพอใจของนักเรียนเป็นรายบุคคลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องเวลา โดยการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่ได้รับการประเมินสูงสุดในสามลำดับแรก ได้แก่ นักเรียนชอบการเรียนเป็นกลุ่มแบบช่วยเหลือกัน (gif.latex?\overline{X}= 4.09) นักเรียนจดจำและเรียนรู้ได้ดีขึ้น (gif.latex?\overline{X}= 4.07) นักเรียนมีความสนุกสนานและกระตือรือร้นในการเรียน (gif.latex?\overline{X}= 4.05) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความ

References

ขวัญใจ บุญฤทธิ์. (2535). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนแบบ TAI กับการสอนตามคู่มือครู สสวท. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย-ศรีนครินทรวิโรฒ.

นพพร แหยมแสง. (2555). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เบญจมาศ ชูน้ำเที่ยง. (2541). ผลของการเรียนแบบกลุ่มช่วยเรียนรายบุคคลที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชาวไทยภูเขา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประยูร อาษานาม. (2537). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา : หลักการและแนวปฏิบัติ. ขอนแก่น: สำนักพิมพ์ประกายพรึก.

ผ่องใส ห่อทอง. (2538). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการสอนแบบพัฒนารายบุคคลที่ร่วมทํางานเป็นคณะกับการสอนปกติ. ปริญญานิพนธ์-การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัชนี ทองแก้ว. (2540). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนแบบ TAI กับการสอนตามคู่มือครู. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มลิวรรณ์ วิวัฒน์วรนัย. (2555). การพัฒนาชุดฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน หน่วยระบบจำนวนเต็มในรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (TAI) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาดีวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2557. จาก http://www.kroobannok.com/blog/55827

วัชรี บูรณสิงห์. (2540). การสอนวิชาคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). สถิติวิทยาทางการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

สาคร ปั้นแอ. (2548). การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องสมการด้วยวิธีสอนร่วมมือกันแบบกลุ่มช่วยเหลือเป็นรายบุคคลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

อธิตยา หาญชนะ. (2553). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคกลุ่มช่วยเหลือรายบุคคล (TAI) เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 4 (อมร สะเพียรชัย อุทิศ) อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การพัฒนาเพื่อการพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.