สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยของนักเรียนบนพื้นที่สูงกลุ่มโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ศรชัย มุ่งไธสง
ยุพิน จันทร์เรือง
สุทัศน์ คล้ายสุวรรณ์
ปฏิพันธ์ อุทยานุกูล
เบญจวรรณ สุขวัฒน์
วรรณวิรัตน์ ตุงคะเวทย์
สุกัญญา ขลิบเงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยโรงเรียนบนพื้นที่สูงกลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จังหวัดเชียงราย และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนบนพื้นที่สูงกลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จังหวัดเชียงราย


                จากการลงพื้นที่สำรวจสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยโรงเรียนบนพื้นที่สูงกลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จังหวัดเชียงราย จำนวน 33 โรงเรียน โดยวิธีสัมภาษณ์ผู้บริหารและครูผู้สอนภาษาไทยระดับช่วงชั้นที่1 (ป.1– ป.3) พบว่า ด้านครูผู้สอนโรงเรียนในพื้นที่ขาดแคลนครูผู้สอนที่จบวิชาเอกภาษาไทย โดยมีเพียงร้อยละ 24.24 เท่านั้นที่จบตรงวิชาเอก โรงเรียนร้อยละ 96.96 ยังคงใช้การสอนตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนรูปแบบของกระทรวงศึกษาธิการ และนอกจากนี้ยังประยุกต์ใช้การสอนในรูปแบบอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น แนวทางการจัดการเรียนการสอนรูปแบบบันไดทักษะ 4 ขั้น การสอนในรูปแบบ TPR BBL เป็นต้น ด้านนักเรียนพบว่านักเรียนบนพื้นที่สูงส่วนใหญ่เป็นนักเรียนชาติพันธุ์ ชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุดได้แก่ชาติพันธุ์อาข่า รองลงมาคือชาติพันธุ์ม้ง จีนยูนนาน ไทยใหญ่ ลาหู่ เย้า ตามลำดับ ด้านทักษะภาษาไทยนักเรียนบนพื้นที่สูงส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการเขียนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 29.24 ปัญหาด้านการอ่านไม่ออกรองลงมาคิดเป็นร้อยละ 28.00


สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนบนพื้นที่สูงกลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จังหวัดเชียงรายมีดังนี้ คือ ควรมีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่คณะครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3 (เน้นเฉพาะโรงเรียนบนพื้นที่สูงจำนวน 33 โรงเรียน) และควรมีการพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะภาษาไทยเพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนบนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงราย

Article Details

บท
บทความ

References

กรมวิชาการ. (2532). การประกันคุณภาพสถานศึกษา เอกสารประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ครุสภา
ลาดพร้าว.
_______. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและ
พัสดุภัณฑ์.

กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน. (2543). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบผู้เรียนสำคัญที่สุด.
กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2536). ปฏิรูปการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์
คุรุสภาลาดพร้าว.

พันธณีย์ วิหคโต. (2538). การจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ปัญหาและแนวทางแก้ไข. หนังสือชุดความรู้ภาษาไทย
การเรียนการสอนภาษาไทย ปัญหาและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ศิวกานต์ ปทุมสูตร. (2555). เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว. กรุงเทพฯ : เรียนรู้ทุ่งสักอาศรม.

ศรีรัตน์ เจิงกลิ่นจันทร์. (2542). การอ่านและการสร้างนิสัยรักการอ่าน . กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์. (2538). วิธีสอนภาษาไทยสำหรับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักงานพื้นที่เขตการศึกษาเชียงราย เขต 3. (2556). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2556 ฉบับที่ 5 – ค่าสถิติระดับเขตพื้นที่แยกตามสาระการเรียนรู้ เขตเชียงราย
เขต 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิชาภาษาไทย. เชียงราย.