คุณค่าของปราสาทศพในจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการใช้ปราสาทศพและคุณค่าของปราสาทศพในจังหวัดเชียงราย ประชากรในการศึกษาได้แก่ ช่างหรือสล่าที่ทำปราสาทศพ ผู้รู้ที่มีภูมิปัญญาเกี่ยวกับปราสาทศพ และเจ้าภาพที่จัดงานศพ ในช่วงเวลาที่ศึกษา จำนวน 10 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงเนื้อหาเป็นเครื่องมือในการวิจัย ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยพรรณนาวิเคราะห์ การศึกษาพบว่าประวัติความเป็นมาของการใช้ปราสาทศพในจังหวัดเชียงรายพบว่าในอดีตปราสาทศพใช้สำหรับเจ้านายชั้นสูงของสังคม และพระสงฆ์ทรงสมณะศักดิ์หรือพระสงฆ์ที่มีอายุพรรษามากเป็นที่นับถือของบุคคลทั่วไปเท่านั้น ต่อมาในภายหลังได้แพร่หลายมาสู่สามัญชนจนถึงปัจจุบันซึ่งจะมีการกำหนดลักษณะรูปทรงของปราสาทศพตามแต่สถานภาพของคนในสังคม สำหรับคุณค่าของปราสาทศพพบว่าปราสาทศพได้สร้างคุณค่าแก่สังคมในจังหวัดเชียงราย ในด้านคุณค่าด้านสังคม ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ด้านการศึกษา และ ด้านเศรษฐกิจ
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
บุญคิด วัชรศาสตร์.(มปป.). อานิสงส์เสียศพ.โรงพิมพ์ธาราทอง. เชียงใหม่.
พระครูพิสุทธิ์พัฒนพิธาน (ประพันธ์ ภท.ทสิริ). (2548). พิธีกรรมงานศพในจังหวัดลำปาง และอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระครูอรัญเขตพิทักษ์. (2546). พระสงฆ์กับความเชื่อเรื่องนรกและสวรรค์ : กรณีศึกษาพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษาเพื่อการพัฒนา.บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏเลย.
พระมหาจรัญ จิตฺตสํวโร (กันธิมา). (2553). การศึกษาแนวคิดความเชื่อเชิงวัฒนธรรมในการสร้างปราสาท ศพ ของชาวพุทธล้านนา. วิทยานิพนธ์นี้หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนาบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มณี พะยอมยงค์ และศิริรัตน์ อาศนะ. (2549). เครื่องสักการะล้านนาไทย. เชียงใหม่, ส.ทรัพย์การพิมพ์.
วัฒนศักดิ์ ไชยกุล. (2546). บริบททางวัฒนธรรมและสังคมของการทำปราสาทในจังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชีวศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศรีเลา เกษพรม. (2544). ประเพณีชีวิตคนเมือง. (พิมพ์ครั้งที่2). สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อภิธาน สมใจ. (2541). งานศพล้านนาปราสาทนกหัสดีลิงค์สู่ไม้ศพ.สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.