นวัตกรรมทางสังคม:ความรู้สู่สังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความหมายของนวัตกรรมทางสังคม ความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมทางสังคม กับนวัตกรรมเน้นทางธุรกิจ การเข้าถึงองค์ความรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมทางสังคม และการนำนวัตกรรมทางสังคม ไปพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นวัตกรรมทางสังคม คือ กระบวนการทางความคิด นโยบายและแนวทางในการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการพัฒนาความสามารถทางสังคมทั้งขององค์การ ปัจเจกบุคคล หรือแม้แต่ของรัฐบาลภายใต้กระบวนการพัฒนาที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งของ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมนำไปสู่การสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตในชุมชนและสังคมไปพร้อมๆกัน ทั้งนี้องค์การที่นำเสนอผลงานของนวัตกรรมทางสังคม จะเป็นหน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไรแตกต่างกับนวัตกรรมทางธุรกิจที่มุ่งหวังผลกำไรเป็นที่ตั้ง
สำหรับการเข้าถึงองค์ความรู้เพื่อการสร้างนวัตกรรมทางสังคม นั้นมีด้วยกัน 3 เส้นทางคือ เส้นทางที่ 1 เป็นการเลียนแบบนวัตกรรม เส้นทางที่ 2 เป็นรูปแบบของการทดลองซ้ำ การใช้ซ้ำ การผลิตซ้ำและได้รับการยอมรับในระดับหนึ่งขององค์การ หรือเกิดจากการศึกษาและพัฒนาในกระบวนการทางการวิจัยนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมทางสังคมให้เป็นที่ยอมรับขององค์การ เส้นทางที่ 3 เป็นการนำความรู้มาผลิตสร้างนวัตกรรมทางสังคม โดยอาจจะเกิดขึ้นจากสาขาวิชาการต่างๆและทั้ง 3 เส้นทางนำไปสู่กระบวนการผลิตเพื่อสร้างนวัตกรรมทางสังคม 4 ขั้นตอนคือ การวินิจฉัยออกแบบและพัฒนา การดำรงนวัตกรรมให้สืบเนื่อง การขยายขนาดเผยแพร่ เชื่อมต่อ การสร้างนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้การนำนวัตกรรมทางสังคมไปใช้จะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์การพัฒนาสังคม สู่การพัฒนา นวัตกรรมอันนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมทางสังคมที่ทันต่อสถานการณ์และปัญหาสังคมในปัจจุบัน คำสำคัญ: นวัตกรรมทางสังคม การพัฒนาที่ยั่งยืน
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา.มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครศรีธรรมราช.
กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ. (2555). นวัตกรรมทางสังคม:ประโยชน์ที่มีมากกว่าที่คิด.วารสารนักบริหาร
(executive_journal).ปีที่ 32 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2555. กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุล. (2558). นวัตกรรมการพัฒนาสังคมและสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร,
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นภดล เหลืองภิรมย์. (2557). การจัดการนวัตกรรม Innovation Management .พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร, ดวงกมล.
ประเพ็ญ ศรีมณี. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดสวัสดิการสังคมขององค์กรชุมชน: กรณีศึกษากองทุน
สัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท ตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธีระ แกล้วกล้า. (2548). การมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ศึกษาเฉพาะกรณี
อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อ
การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ. (2546). นวัตกรรมสังคม : ทางเลือกเพื่อประเทศไทยรอด.กรุงเทพมหานคร.สถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข.
อิโนะอุเอะ ทัตสึฮิโกะ. (2557). เลียนแบบ แยบยล=Good Imitation to Great Innovation. แปลโดย ประวัติ เพียรเจริญ. กรุงเทพมหานคร. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น).
European Commission. (2013). Guide to social innovation. Directorate-General for Regional and Urban Policy.
Ezio Manzini. (2014). Making Things Happen: Social Innovation and Design. DesignIssues: Volume 30, Number 1 Winter 2014. Massachusetts Institute of Technology
Giovany Cajaiba-Santana. (2014). Social innovation: Moving the field forward. A conceptual framework. Technological Forecasting & Social Change 82 (2014) 42–51.
Stefan Neumeier. (2017). Social innovation in rural development: identifying the key factors of success. The Geographical Journal, Vol. 183, No. 1, March 2017, pp. 34–46, doi: 10.1111/geoj.12180.