การครองตนในครอบครัวของผู้สูงอายุอย่างมีความสุขในสังคมไทย

Main Article Content

พระครูธีรศาสน์ไพศาล -

บทคัดย่อ

  วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพุทธศาสนา กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เครือข่ายผู้สูงอายุ และการครองตนในครอบครัวของผู้สูงอายุอย่างมีความสุขในสังคมไทย พบว่า ผู้สูงอายุจะดำรงชีวิตอย่างมีความสุขได้จะต้องประกอบด้วยปัจจัยที่สำคัญคือ ผู้สูงอายุจะต้องมีสุขภาพแข็งแรง พึ่งพาตนเองได้ทางเศรษฐกิจ จัดการด้านที่อยู่อาศัยของตนเองได้อย่างเหมาะสม มีความสัมพันธ์ที่ดีกับสมาชิกในครอบครัว วิธีการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สูงอายุกับสมาชิกในครอบครัวจะต้องนำหลักธรรมของพุทธศาสนามาใช้ในการครองตน โดยควรหมั่นศึกษาธรรมะ ฟังธรรมะ หมั่นเจริญสมาธิภาวนา
   การใช้หลักพรหมวิหาร 4 คือ ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ ได้แก่ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ต่อบุตรหลานในครอบครัว และหลักสังคหวัตถุ 4 คือ หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ก็จะทำให้ผู้สูงอายุมีคุณค่า เป็นที่รักของสมาชิกในครอบครัว ผลที่ตามมาก็คือความสุขทั้งทางกายและทางใจตามอัตภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Jearanai Songchaikul. 2017. Contentment in the family of the elderly for happiness. https://www.stou.ac.th/stoukc/elder/main1_3.html. 11 May 2017.

Thitiwan Sangsingha. 2014. The lifestyle of aged people, according to Buddist Doctrines : case study Ban Luekhamhan Community, Warinchamrap district, Ubonratchathani province. Master of Arts Thesis (Buddhist Studies). Graduate School Mahachulalongkorntajavidyalaya University.

Thippawan Suthanon. 2014. An Application of Buddhist Principle for old aged people’s happy living. Master of Arts Thesis (Buddhist Studies). Graduate School Mahachulalongkorntajavidyalaya University.

Prakrusighakaew Wachirathamo. 2011. Elderly Person’s Roles in Supporting Buddhist Activities : A Case Study of Lou Yaw Sub-district, Ban Hong District, Lamphun Province. Master of Arts Thesis (Buddhist Studies). Graduate School Mahachulalongkorntajavidyalaya University.

Puritya Thepsiri. 2012. Quality of Life of the Elderly in Banna District, Nakhonnayok Province. Bangkok : Krirk University.

Warakom Teesuga. 1984. Elderly in Thailand. Bangkok : Chulalongkorn University Printing.

เจียรนัย ทรงชัยกุล. 2017. การครองตนในครอบครัวอย่างมีความสุขของผู้สูงอายุ. https://www.stou.ac.th/stoukc/elder/main1_3.html. 11 พฤษภาคม 2017.

ฐิติวรรณ แสงสิงห์. 2014. การศึกษาวิถีชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม : กรณีศึกษาชุมชนบ้านลือคำหาญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ทิพวรรณ สุธานนท์. 2014. การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระครูสิงห์แก้ว วชิรธมฺโม. 2011. บทบาทของผู้สูงอายุในการส่งเสริมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา : ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ภูริชญา เทพศิริ. 2012. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลทองหลาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกริก.

วราคม ทีสุกะ. 1984. ผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.