ความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

Main Article Content

เกศราพรรณ พันธุ์ศรีเกตุ คงเจริญ

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุ และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความฉลาดทางสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของผู้สูงอายุ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและหญิง อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยได้ ไม่มีภาวะความจำบกพร่อง โดยได้รับการทดสอบด้วยเครื่องมือ MMSE (Mini–Mental State Examination)ยินดีให้การสัมภาษณ์และเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
   กลุ่มผู้สูงอายุผู้มีความฉลาดทางสุขภาพในระดับปานกลาง มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเอง การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง และด้านความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยา โดยมีการปฏิบัติไม่สม่ำเสมอ พฤติกรรมส่วนใหญ่ปฏิบัติไม่ถึงร้อยละ 80 และจากข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีความฉลาดทางสุขภาพอยู่ในระดับพื้นฐาน ส่วนน้อยที่มีความฉลาดทางสุขภาพขั้นการมีปฏิสัมพันธ์ และขั้นวิจารณญาณ
   ข้อเสนอแนะควรมีการกำหนดตัวชี้วัดระดับพื้นที่ในเรื่องอัตราการรู้หนังสือ การเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางสุขภาพที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ กำหนดให้มีนโยบายการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ และกำหนดให้หน่วยงานทางด้านการศึกษาและหน่วยงานทางด้านส่งเสริมสุขภาพ จัดทำหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อ การวิเคราะห์ ประเมินสื่อ การเฝ้าระวังสื่อ แก่ประชากรทุกระดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Agency for Healthcare Research and Quality. (2007). CAHPS health literacy item set. Retrieved from www.cahps.ahrq.gov/content/ products/HL/PROD_HL_Intro.asp.

Apinya Intararat. (2014). Health intelligence of health professionals. Journal of the Army Nurses, 15(3), 174-178.

Benjamas Suramitmaitree. (2013). Health Literacy and Operation Situation Enhance the
health intelligence of Thai people in order to support the ASEAN community.
Bangkok: Ministry of Foreign Affairs.

Brach, C., et al. 2012. Ten Attributes of health literate health care organization. Retrieved from http://www.iom.edu/~/media/Files/Perspectives-Files/2012/Discussion-Papers/BPH_ Ten_HLit_Attributes.pdf [November 3, 2014].

Bureau of Registration Administration Ministry of the Interior.(2016). Elderly Statistics 2016.
Bangkok: Office of Registration Administration Ministry of the Interior.

Chatsumon Pertpinyo. (2010). Principle of social research. Bangkok: Charoendee Mon-khong
Printing.

Health Canada. 2002. What determines health. Retrieved from http://www.phac- aspc.gc. ca/ph-sp/phdd/determinants/deter_biblio.html.

Health Education Division, Department of Health Service Support Ministry of Public Health. (2011). Health intelligence. Bangkok: New Thammada Printing (Thailand) Ltd.

Kickbusch, I.S. 2001. Health Literacy: addressing the health and education divide. Yale. : University School of Public Health. New Haven, CT, USA.

McCray., A.T. 2005. Promoting health literacy. Journal of American Medical Informatics Association. 12(2), 152-163.

Nutbeam, D. 2008. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine. 67: 2072-2078.

Parker, RM., Baker, D.W., William, M.V. and Nurss, J.R. 1995. The test of Functional Health Literacy In Adult: a new instrument for measur¬ing patient’s literacy skills. Journal of General internal Medicine, 10, 537-541.

Phayao Provincial Public Health Office. (2013). Summary of Phayao Provincial Public Health Performance FY 2012. Phayao: Office.

Prasert Assantachai. (2009). Common health problems in the elderly and prevention.
Bangkok: Union Creation.

World Health Organization (WHO). 2009. Health Literacy and Health Promotion. Individual
Empowerment conference Working Document. 7th Global Conference on Health
Promotion Promoting Health and Development. Nairobi: Kenya.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2554). ความฉลาดทางสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด.

ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2553). หลักการวิจัยทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

เบญจมาศ สุรมิตรไมตรี. (2556). การศึกษาความฉลาดทางสุขภาพ (Health Literacy) และสถานการณ์การดำเนินงานสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาพของคนไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการต่างประเทศ.

ประเสริฐ อัสสันตชัย. (2552). ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. กรุงเทพมหานคร: ยูเนี่ยน ครีเอชั่น.

สำนักบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย. (2559). ข้อมูลสถิติผู้สูงอายุ ปี 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. (2556). สรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา ปีงบประมาณ 2555. พะเยา : สำนักงาน.

อภิญญา อินทรรัตน์. (2557). ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 174-178.