รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน

Main Article Content

นฤมล พันลุตัน

บทคัดย่อ

  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อขับเคลื่อนการเป็นประชาคมอาเซียน และเพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อการเป็นประชาคมอาเซียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อขับเคลื่อนการเป็นประชาคมอาเซียน คือ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรภาคธุรกิจ และผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนดีเด่น จำนวน 12 คน และผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการหรือครูที่รับผิดชอบงานบริหารบุคคล และครูวิชาการ จากโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนโครงการ Spirit of ASEAN: Sister School, Buffer School, ASEAN Focus School, โรงเรียนคู่พัฒนาไทย – อินโดนีเซีย และ ASEAN Learning School และโรงเรียน Education Hub สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน ทั้งหมดจำนวน 33 โรงเรียน จำนวน 99 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อการเป็นประชาคมอาเซียน คือ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 11 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินผลรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อการเป็นประชาคมอาเซียน ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวม ได้แก่ การแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การจัดประชุมสนทนากลุ่ม และการประชุมสัมมนาอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis)
   ผลการวิจัย พบว่า ด้านองค์ประกอบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อขับเคลื่อนการเป็นประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 4 ด้าน 24 องค์ประกอบย่อย และ 25 ตัวชี้วัด ส่วนด้านรูปแบบ การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อการเป็นประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย องค์ประกอบของสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการเป็นประชาคมอาเซียนและกระบวนการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการเป็นประชาคมอาเซียน และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตภาคเหนือตอนบนเพื่อการเป็นประชาคมอาเซียน ในภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Afshari M. et al. (2009). Factors affecting teachers’ use of Information and Communication Technology. International Journal of Instruction, 2(1), 78-98.

Cochran G. (2009). Ohio State University Extension Competency Study: Developing a Competency Model for a 21st Century Extension Organization. Ph.D. Dissertation, The Ohio State University.

Donprasit T. (2009). System Development for Competency Development of Basic School Administrators. Bangkok : Thesis, Doctor of Education Faculty of Management Studies Graduate School. Chulalongkorn University.

Hair J. et al. (1995). Multivariate data analysis. New Jersey: Prentice-Hall.

Kaewkamsai S., Poompan C., Chapanya Y. (2016). A Model for Developing Performance of Basic School Administrators Under the Office of Roi Et Elementary Education Area 1. Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakrm university. 35 (3), 158-173.

Ministry of Education. (2011). The second decade of educational reform. Bangkok : Printing House, Agricultural Cooperative Assembly of Thailand.

Noisaeng S. (2012). Model of Competency Development of School Administrators by Knowledge Management
to Increase Motivation in Learning Management of Teachers in Educational Institutions under the
Office of Basic Education Commission. Doctor of Business Administration Thesis Program in Educational
Administration and Change Leader. Bangkok : University of Eastern Asia.

Office of the National Economic and Social Development Board (2011). His Majesty the King's national development work. Bangkok: Office .

Prachuapmuem S. (2013). The Role of School Administrators in the ASEAN Community. Education: Master's degree thesis Faculty of Management Studies. Bangkok : Srinakharinwirot University

Rattanasiraprapa N. (2014). "The competency of the Administrators that Affect the Characteristics of International Standard Schools Under the Office of the Basic Education Commission" Academic Journal. 7 (3), 507-528.

Stevens R. N. (1996). Focus Groups. Public Health Nursing, 13: 170–176. doi:10.1111/j.1525-1446.1996.tb00237.
Theprenu S. (2004). The Development of Training Model for the Director of Educational Service Area Office. Thesis Ed.D., Bangkok : Chulalongkorn University.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เตือนใจ ดลประสิทธิ์. (2552). การพัฒนาระบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

นุชนรา รัตนศิระประภา. (2557). “สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน”. วารสารวิชาการ. 7(3), 507-528.

สนธิรัก เทพเรณู. (2547). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมสำหรับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สมาน แก้วคำไสย์, เฉลย ภูมิพันธ์ และ ยุวธิดา ชาปัญญา. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 35(3), 158-173.

สุมนธรี ประจวบเหมาะ. (2556). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประชาคมอาเซียน. ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรพล น้อยแสง. (2555). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาด้วยการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำ การเปลี่ยนแปลง. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.