การศึกษาจิตรกรรมฝาผนังวัดอารามหลวงในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

ศุภรัตน์ อินทนิเวศ

บทคัดย่อ

  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมผลงานจิตรกรรมฝาผนังของวัดอารามหลวงในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เพื่อนำรูปแบบของผลงานจิตรกรรมฝาผนังมาวิเคราะห์ในด้านเนื้อหาเรื่องราว ด้านเทคนิควิธีการสร้างสรรค์ ด้านโครงสร้างและด้านการจัดองค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏในโบสถ์วิหารวัดพระอารามหลวง ในภาคเหนือตอนบน เป็นผลงานที่จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ผลงานสื่อเนื้อหาเรื่องราว ความศรัทธา ความเชื่อในหลักคำสอน ในพระพุทธศาสนา มีรูปแบบของผลงานเป็นจิตรกรรมไทยแบบประเพณีแนวประเพณีและจิตรกรรมไทยร่วมสมัย โดยใช้กลวิธี การสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคสีฝุ่น สีน้ำมันและสีอะคริลิค การจัดวางโครงสร้างและการจัดองค์ประกอบของภาพในงานจิตรกรรม ฝาผนังโดยการใช้เส้นและรูปทรงเป็นหลัก ภาพเน้นรูปทรงที่มีความเป็นจริงตามธรรมชาติทำให้ภาพโดยรวมเกิดจุดที่น่าสนใจ มีเกิดความกลมกลืนในภาพ แสดงรายละเอียดของรูปทรงที่มีน้ำหนักของสีต่างกัน การจัดวางโครงสีและการใช้สีมีความอิสระ ในการแสดงออกอย่างตรงไปตรงมา มีการใช้ในสองลักษณะคือ การวางโครงสีแบบสีพหุรงค์ และใช้สีในกลุ่มสีสามเส้าคือ สีแดง สีเหลือง (ทอง) สีน้ำเงิน ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในผลงานจิตรกรรมฝาผนังล้านนา มีลักษณะของภาพวาดที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และเป็นการสร้างสรรค์ของช่างเขียนจากภาคกลางหรือช่างเขียนภาคเหนือที่ไปเรียนแบบอย่างของช่างเขียนกรุงเทพฯ ลักษณะของภาพเขียนจึงเป็นแบบผสมผสาน นอกจากนี้ลักษณะศิลปะแบบจีน พม่าและแบบศิลปะตะวันตกรวมอยู่ด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Jutavipa W. (2014). Techniques of drawing, Thai painting, Volume 1, learning art ... eating Lanna. Bangkok: S.
Asia Plus (1989).

Leesuwan W. (2004). Thai Visual Arts. Bangkok: Children Club.

Nim Always C. (2011). Art composition. 8th edition. Bangkok: Amarin.

Poolsuwan S. (1996). Symbols in Thai Painting. Bangkok: Thammasat University.

Saenkatiyarat S.(2006). Strategies for writing Thai paintings. Bangkok: Draw Art.

Saising S. (2013). Lanna Art. Bangkok: Matichon.

Sunphongsri K. (2012). Aesthetics Philosophy of art Theory of Visual Arts, Art and Criticism. Bangkok: The
publisher of Chulalongkorn Royal College.

Vetakan C. (2008). Management of visual arts content based on community culture. Bangkok: Publisher of
Chulalongkorn University.

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2555). สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2554). องค์ประกอบทางศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์.

ชุติมา เวทการ. (2551). การจัดการเรียนรู้สาระทัศนศิลป์บนพื้นฐานวัฒนธรรมชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัฒนะ จูฑะวิภาต. (2557). เทคนิคการวาดภาพจิตรกรรมไทย เล่ม1 เรียนศิลป์...เสพกลิ่นล้านนา. กรุงเทพมหานคร: ส.เอเชีย พลัส
(1989).

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2547). ทัศนศิลป์ไทย. กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.

ศักด์ชัย สายสิงห์. (2556). ศิลปะล้านนา. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

เสมอชัย พูลสุวรรณ. (2539). สัญลักษณ์ในงานจิตรกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์. (2549). กลวิธีการเขียนภาพจิตรกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: วาดศิลป์.