รูปแบบการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการสำหรับนักเรียนประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎกและเอกสารที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์ สังเกต และศึกษาข้อมูลโรงเรียนเป้าหมาย จากนั้นสังเคราะห์ข้อมูลเป็นรูปแบบการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการสำหรับนักเรียนประถมศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย แล้วนำมาอภิปรายกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมของรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการในโรงเรียนประถมศึกษาของไทยมีรูปแบบหลักๆ ประกอบด้วยโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนสุจริต โรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนความดีสากล โรงเรียนในโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก โรงเรียนรักษาศีล 5 โรงเรียนแนวพุทธนิกายมหายาน และโรงเรียนทางเลือกเชิงพุทธ ส่วนรูปแบบการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยเป็นการนำจุดเด่นของแต่ละรูปแบบมาสังเคราะห์เป็นรูปแบบใหม่ เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่สามารถบูรณาการได้กับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 โดยมีกิจกรรมที่ฝึกปฏิบัติจริงทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เน้นทักษะการคิดแบบอริยสัจ 4 ผ่านโครงงานคุณธรรม เน้นการนั่งสมาธิ 5-10 นาทีก่อนเรียน เน้นการรักษาศีล 5 และมีพรหมวิหาร 4 เป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันด้วยปัญญา คุณธรรมที่เด่นชัด ได้แก่ ครองตน ครองคน ครองงานและมีชีวิตที่สัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ และรุ่งเรือง สุขาภิรมย์. (2550). รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของประเทศต่างๆ. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิก.
เตือนใจ สุกใส. (2559). รูปแบบการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการสำหรับนักเรียนประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.
ทวีศักดิ์ ทองทิพย์. (2555). การวิเคราะห์การศึกษาตามหลักไตรสิกขา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.
ประเวศ วะสี. (2550). การเรียนรู้ใหม่ ไปให้พ้นวิกฤติ. กรุงเทพมหานคร : ร่วมด้วยช่วยกัน.
_________. (2553). ระบบการศึกษาที่แก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดิน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
ผ่องลักษณ์ จิตต์การุญ. (2543). สภาพปัจจัยในการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขสำหรับนักศึกษาโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ สถาบันราชภัฎกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต), บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม. ลพบุรี.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). การศึกษา เครื่องมือการพัฒนาที่ยังต้องพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
_________. (2552). สยามสามไตร สู่อนาคตที่สดใส ด้วยการศึกษาไทยวิถีพุทธ, (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย.
พระมหาพยุงศักดิ์ ธมฺมวิสุทฺธิเมธี (โสภาสาย). (2554). การศึกษาวิเคราะห์มนุษย์ที่สมบูรณ์ตามแนว พุทธปรัชญา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.
พระศักดิ์ดา วิสุทฺธิญาโณ (มรดา). (2550). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2532). อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิตกํ, 2500. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล. ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
วัฒนีย์ ปานจินดา. (2552). รูปแบบมหาวิทยาลัยไทยแนวพุทธ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสยาม. กรุงเทพมหานคร.
สิทธิพงศ์ ห่วงแก้วพราย. (2545). ความพึงพอใจของนักศึกษาโรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออก(อี.เทค)ที่มีต่อมหาวิทยาลัยเอกชนที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีต่อเนื่อง. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
สุปรียา ธีรสิรานนท์. (2556). การศึกษากระบวนการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.
Hunggeawpray, S. (2002). Satisfaction of students of Eastern Technology School (E.Tech) towards private universities that offer undergraduate degree. (Master’s thesis) Graduate School, University of the East, Chon Buri.
Jitgarun, P. (2000). Teaching factors that promote learning enrichment for student In communication program. Rajabhat Institute Northern Region (Master of Arts Thesis). Graduate School: Rajabhat Pibulsongkram University. Lop Buri.
Jongsathityou, J. and Sukhapirome, R. (2007). The research report on the characteristics and processes of cultivating the moral and ethics of different countries. Bangkok: Prigwhan Graphic.
Ministry of Education. (2008). Core Curriculum for Basic Educatiion. B.E. 2551. Bangkok: Printing House, Agricultural Cooperative Federation of Thailand.
Wuttanee Panjinda. (2009). Thai Buddhist University Model. (Doctor of Philosophy thesis) College Siam University.