กลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตภาคเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการเสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน 2) กำหนดกลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน 3) นำกลยุทธ์ไปเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน และ 4) ประเมินกลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน
วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพความต้องการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูโดยการสอบถามและสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลตำบลในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน จำนวน 180 คน จาก 90 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ มี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลตำบล ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 60 คน จาก 30 โรงเรียน และ กลุ่มผู้บริหารการศึกษาต้นสังกัดของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นและค่าฐานนิยม 2) การกำหนดกลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูด้วยวิธีการวางแผนกลยุทธ์เป็นทีม โดยการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 ท่าน 3) การนำกลยุทธ์ไปเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 52 คน จาก10 โรงเรียน โดยใช้วิธีวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR OR) และ 4) การประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความครอบคลุมและความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันและสภาพความต้องการของสมรรถนะหลักการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเร่งด่วน เรียงลำดับ ตามความสำคัญคือ ด้านการพัฒนาตนเอง และด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ส่วนสมรรถนะประจำสายงาน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเร่งด่วน เรียงลำดับตามความสำคัญคือ ด้านการวิเคราะห์สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน และด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
2. กลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) กลยุทธ์การพัฒนาครูสู่นักวิจัย 2) กลยุทธ์การพัฒนาตนเองด้วยเครือข่ายการเรียนรู้ 3) กลยุทธ์ การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และ 4) กลยุทธ์การพัฒนางานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
3. ผลการนำกลยุทธ์ไปเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นโดยภาพรวมและรายกลยุทธ์อยู่ในระดับมาก ความรู้ที่ได้รับอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ กลยุทธ์การพัฒนาครูสู่นักวิจัย กลยุทธ์พัฒนางานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ กลยุทธ์การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และ กลยุทธ์การพัฒนาตนเองด้วยเครือข่ายการเรียนรู้ ตามลำดับ ส่วนความพึงพอใจต่อการนำกลยุทธ์ไปเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ กลยุทธ์การพัฒนาแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ กลยุทธ์การพัฒนาตนเองด้วยเครือข่ายการเรียนรู้ กลยุทธ์การพัฒนาครู สู่นักวิจัยและกลยุทธ์การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการ ตามลำดับ ระดับสมรรถนะของครูจากการประเมินโดยผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ สมรรถนะการพัฒนาตนเอง สมรรถนะการวิเคราะห์สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน สมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้และสมรรถนะการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ
4. การประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความครอบคลุม และความเป็นประโยชน์ ของกลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน โดยจัดสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ความเหมาะสมและความครอบคลุมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความเป็นไปได้และ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก ผลการปรับปรุงกลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก 10 กลยุทธ์รอง 33 วิธีดำเนินการ และ 27 กิจกรรม
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2555). สถิติข้อมูลโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประจำปีการศึกษา 2555. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย.
ยุทธศาสตร์ เพียรไธสง. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาครูที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 1(10): 142-153.
เยาวเรศ จิตต์ตรง. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำด้านการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย. มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย. (4)1: 212-219.
วารุณี ผลเพิ่มพูน. (2556). การศึกษาสมรรถนะของข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วารสารวิจัยและประเมินผลมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2(2): 62-73.
สาโรจน์ โอพิทักษ์ชีวิน. (2548). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: แมคกรอ – ฮิล.
เสาวนันท์ ขวัญแก้ว. (2554). สมรรถนะทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขึ้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 2(3): 101-102.
อรอุมา รุ่งเรืองวณิชกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะครูนักวิจัยด้วยการบูรณาการกระบวนการเรียนรู้สำหรับข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 . ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต การศึกษาผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Bonnoon K. (2016). Private Teacher Development Strategy for Basic Education Level. Journal of Social Sciences Chiangrai Rajabhat University, 3(9): 154-168.
Department of Local Administration. (2012). Statistics of schools under the Local Administrative Organization for the academic year 2012. Bangkok: Ministry of Interior.
Jittrong Y. (2014). Strategy for leadership development in the teaching of secondary school administrators. Academic Journal of Eastern Asia University. Eastern Asia University, 1(4): 212-219.
Khwankaew S. (2011). Academic competencies of teachers in basic education institutions in Surat Thani Educational Service Area Office. Journal of Pathum Thani University. Pathum Thani University, 2(3): 101-102.
Opitakchewin S. (2005). Strategic Management. Bangkok: McCraw-Hill.
Peanthaisong Y. (2016). Efficient Teacher Development Strategy of Schools under the Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization. Journal of Education Mahasarakham University. Mahasarakham University, 1(10): 212-219.
Phonperphun W. (2013). A Study of Competency of Teacher Civil Service in Schools under the Office of Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area 3. Journal of Research and Evaluation. Ubon Ratchathani University, 2(2): 62-73.
Roongruangwanakun O. (2013). The development of a model for enhancing the competency of researcher teachers by integrating learning processes for teacher civil service under the Office of Secondary Educational Service Areas 2. (Adult education). Bangkok: Graduate School Srinakharinwirot University.