การทำแท้งที่ผิดกฎหมายในประเทศไทย

Main Article Content

พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์

บทคัดย่อ

   สภาพปัญหาการทำแท้งที่ผิดกฎหมายในประเทศไทยนั้น มีสาเหตุการทำแท้งจะแบ่งลักษณะเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มหญิงโสดและกลุ่มสมรส โดยสาเหตุหลักของการทำแท้งในหญิงโสดนั้นส่วนมากมาจากการที่มีครรภ์ในช่วงเวลาและสถานะที่ยังไม่พร้อม ในขณะที่หญิงที่แต่งงานแล้วเหตุผลประการที่สำคัญที่สุดคือปัญหาทางเศรษฐกิจ จากการศึกษาได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มแนวคิดที่แสดงความเห็นเกี่ยวกับการทำแท้ง นั่นคือ กลุ่มที่เห็นด้วย และกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย กับการสนับสนุนให้การทำแท้งนั้นถูกกฎหมาย โดยส่วนที่สนับสนุนการทำแท้งจะเป็นสองลักษณะ คือ มิได้สนใจในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม แต่จะสนใจในด้านของเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ภายในครอบครัวมากกว่า มองว่าหญิงตั้งครรภ์มีสิทธิที่จะกระทำใดๆในส่วนของร่างกายของตน ส่วนอีกกลุ่มคืออาจจะยังคงคำนึงถึงเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม แต่ก็เล็งเห็นถึงปัญหาของหญิงที่ตั้งครรภ์แล้วได้รับบาดเจ็บและบอบช้ำจากการไปทำแท้งที่ผิดกฎหมาย ส่วนที่ไม่สนับสนุนการทำแท้ง ประเด็นหลักคือมองถึงในด้านของคุณธรรม จริยธรรม และสิทธิของเด็กในครรภ์ที่จะเกิดเป็นมนุษย์ในอนาคตสำหรับตัวกฎหมายเองก็มีความพยายามที่จะปรับใช้ในแนวทางที่สนับสนุนสิทธิของผู้หญิงแต่ก็ยังไม่เป็นผล

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ก้าวอย่างเข้าใจเพศศึกษาเพื่อเยาวชน. นักวิชาการฯ ชี้ ประณามคนทำแท้งไม่ใช่ทางแก้ปัญหา.สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2558. จาก http://www.teenpath.net/content.asp?ID=14922

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. 2557. สถานการณ์การคลอดบุตรของวัยรุ่นไทย ปี 2556. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

กฤตยา อาชวนิจกุล และกนกวรรณ ธราวรรณ. 2543. ขบวนการขับเคลื่อนไหวทางสังคมบนมิติการเมืองเรื่องเพศและร่างกายผู้หญิง. เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องขบวนการทางสังคม: พลวัตเศรษฐกิจการเมืองไทย จัดโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เครือข่ายสนับสนุนทางเลิกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2560. จาก https://choicesforum.wordpress.com/2008/10/07/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%94/#more-70

ปกรณ์ มณีปกรณ์. 2553. อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. กรุงเทพฯ: หจก. เอ็ม.ที.เพรส

ปัณณพร ไพบูลย์กิจวัฒนกิจ. 2551. เรียน4ปีนักศึกษาทำแท้ง5ครั้ง. คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ปิยะบุตร แสงกนกกุล.30 ปี กฎหมายการทำแท้งฝรั่งเศส. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2558. จากhttp://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=674

พระราชบัญญัติ การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559

วิภาวี เอียมวรเมธ. 2546. การขัดเกลาทางสังคม. เอกสารประกอบการสอนคณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีประจอมเกล้าธนบุรี

วิระดา สมสวัสดิ์. 2549. นิติศาสตร์แนวสตรีนิยม. เชียงใหม่: วนิดาเพรส

วิลาสินี พนานครทรัพย์. 2554. การทำแท้ง: มุมมองที่แตกต่าง. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา 30 (1)

วันทนีย์ วาสิกะสิน. 2543. สังคมสงเคราะห์แนวสตรีนิยม: ทฤษฎีและการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 9. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2560. จาก http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=9&chap=4&page=t9-4-infodetail02.html

สุกานดา สายสมยา. ปัญหาการทำแท้ง. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2558. จากhttp://www.learners.in.th/blogs/posts/336731

สุชาดา รัชชุกุล. 2541. การตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนา และการตัดสินใจทำแท้ง. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนาศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฑ ประสานมิตร

เสาวลักษณ์ พัวพัฒนกุล. สนับสนุนร่าง พรบ.คุ้มครองอนามัยการเจริญพันธ์: กฎหมายเพื่อปกป้องผู้หญิง.สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2558. จากhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/374825

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559. พบวัยรุ่น15-19ปี 80%ท้องไม่ตั้งใจ ทำแท้ง-ทิ้งลูกอื้อ

หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 16 มกราคม 2556. เผยสถิติวัยุร่นไทยมีอัตราการคลอดลูกเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน

หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 25 เมษายน 2558. ศพเด็กบาน ตำรวจลุยแท้งเถื่อน

หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553. “ทำแท้ง” ขอเวทีให้เด็กตัดสิน

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560. เด็กเกิดน้อยด้อยคุณภาพ สธ.ทำเก๋ ขอสาวไทยปั๊มลูกเพื่อชาติ

หยุด แสงอุทัย. 2544. กฎหมายอาญา ภาค2-4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อุกฤษฏ์ แพทย์น้อย. ทฤษฎีสิทธิตามธรรมชาติ.สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2558. จากhttp://pioneer.chula.ac.th/~pukrit/2207102/right.html

อำไพ มีสิทธิ. (2012, May 12). มิติทางสังคมในการลดปัญหาการทำแท้ง.สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2558. จากhttp://sukanya1969.blogspot.com/2012/05/15-44-1974-5-4-5-80-2545-20-20-20-20-4.html

Dreaming Butterfly. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2558. จากhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=easywandering&month =12-2010&date=12&group=16&gblog=43

Mary Anne Warren, On moral and legal status of abortion, In James E. White, eds., Contemporary moral problems, 9th ed., Ibid., p. 118.

Utilitarianism. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2558. จากhttp://www.bkk2.in.th/Topic.aspx?TopicID=80903

Siam Intelligence, สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2558. จากhttp://www.siamintelligence.com/thailand-abortion-law/