อัตลักษณ์ชุมชนด้านสิ่งทอของชาวปกาเกอะญอ ตำบลโชคชัย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย Community identity in textiles of the Pga K’nyau Ethnic Group in Chokchai Sub-district, Doi Luang District, Chiang Rai Province.

Main Article Content

ศมล สังคะรัตน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


               การวิจัยเรื่อง อัตลักษณ์ชุมชนด้านสิ่งทอของชาวปกาเกอะญอ ตำบลโชคชัย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ชุมชนของชาวปกาเกอะญอ ตำบลโชคชัย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง นำมาวิเคราะห์ผลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์ที่สำคัญของชาวปกาเกอะญอในพื้นที่ตำบลโชคชัย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงรายคือ วิถีการดำรงชีวิตที่อาศัยธรรมชาติ ควบคู่ไปกับความเชื่อ พิธีกรรม และวัฒนธรรมที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ ผ่านเครื่องแต่งกายที่ได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากสายตระกูลฝั่งมารดา ซึ่งเครื่องแต่งกายจะบ่งบอกถึงสถานะทางสังคม ที่สอดแทรกในเรื่องความเชื่อเพื่อใช้เป็นกุศโลบายให้ลูกหลานชาวปกาเกอะญอ มีความภาคภูมิใจและเป็นเครื่องช่วยเตือนสติในการดำรงชีวิตได้อย่างสมบูรณ์แบบ ลวดลายที่ปรากฎบนผืนผ้าได้จากธรรมชาติรอบตัวที่ใช้สีแดง สีดำ สีขาว ลายผ้าดั้งเดิม คือ ลายมัดหมี่คูฉกคัง และลายมัดหมี่หนิ่งเมกลัง


คำสำคัญ: กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ สิ่งทอชาติพันธุ์  อัตลักษณ์ชุมชน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Loppawong, N. (2014). “Management Process for Retaining Cultural Identity of the Pga K’nyau

Ethnic Group in Ban Nong Monta, Mae Wang District, Chiang Mai Province”, International Thai Tourism Journal,10(2) ,45-46. (in Thai)

Numahan, P. et al. (2012) The Study of Culture Reservation and Tribe Fabric for Commercial A

Case Study Karieng’s Fabric in the North Provinces. Research Report Rajamangala

University of Technology Phra Nakhon.48-54. (in Thai)

Pangampai, K.et al. (2017). Cultural adaptation in the modern world of Karen Karen Waterfall

Village, Khlong Lan District, Kamphaeng Phet Province. Proceeding The 4th National Conference, Research Institute, Kamphaeng Phet Rajabhat University. December 22, 2017.43-58. (in Thai)

The SUPPORT Arts and Crafts International Centre of Thailand (Public Organization). (2017)

Characteristics and Patterns of Hilltribe Fabric. Ayutthaya: Siam Asia Print Co., Ltd.

(in Thai)

Booranaprasertsook, W.(2012). Stories from the Thai-Burmese Border:Intellectual Sparks for

Sustainable Development.Bangkok: Printing House of Chulalongkorn University.

(in Thai)

Tuanthet, S. (2012). A Study of Thai Local Wisdom in Native Fabrics Focused on the Ethnic

LAO-KHRANG in Suphanburi Chainard and Uthaithani. Master thesis,M.Ed. (Art Education). Srinakharinwirot University. (in Thai)