การจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในชั้นเรียน The Development of Creative Thinking Activities in classrooms
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในอดีตเชื่อกันว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นพรสวรรค์ที่มีมาแต่เกิด เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความรู้แจ้งซึ่งขับเคลื่อนโดยนักวิชาการและนักจิตวิทยา ความเชื่อดั้งเดิมก็ถูกละทิ้ง แทนที่ด้วยแนวคิดที่ยอมรับกันว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นทักษะที่พัฒนาได้ตั้งแต่อายุยังน้อย และสามารถพัฒนาได้จากการจัดกิจกรรมเสริมความคิด
สร้างสรรค์เพื่อให้มีอิสระในการคิดโดยความคิดสร้างสรรค์มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมากส่งผลให้โลกทุกวันนี้ได้รับการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างไม่หยุดยั้ง ความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ด้วยเหตุนี้ความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งสำคัญ ความคิดสร้างสรรค์สามารถสร้างได้จากการกิจกรรม โดยกิจกรรมที่สำคัญต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กมี 2 กิจกรรม คือ 1. กิจกรรมทางด้านภาษา เช่น การเล่านิทาน การละครและการเล่นบทบาทสมมติ2. กิจกรรมทางด้านศิลปะ เช่น กิจกรรมการประดิษฐ์เศษวัสดุกิจกรรมดนตรีซึ่งทั้งสองกิจกรรมอาจจะมีการผสมผสานกันอยู่ทั้งสองด้าน โดยขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมของครูที่จะให้นักเรียนได้รับประสบการณ์หลากหลายในหนึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้นครูจึงมีบทบาทสำคัญในการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในชั้นเรียนที่จะช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้เรียนเพื่อเตรียมทรัพยากรบุคคลที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป ดังนั้นการศึกษาการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในชั้นเรียนจึงนับว่าเป็นประโยชน์แก่ครูอย่างยิ่ง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
รุจิรา สิงห์ทอง. (2550). ผลของการใช้กิจกรรมดนตรีที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้น อนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์ยอแซฟ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บังเอิญ อินทรักษ์. (2553). การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมละคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
สุภาพร น้อยสี. (2557). กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ (ประกอบคำบรรยาย)หน่วยฤดูกาลหรรษา. www.dusitcenter.org/dusitwebs/plan/ newsview.php?id=4142. 7 มกราคม 2557
สมศรี วงษ์มณฑล. (2552). การจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบหุ่นเชิดมือที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปฐมวัยศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุรัตน์ แสงสีเหลือง. (2550). การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวเบื้องต้นและการเคลื่อนไหวประกอบเพลงเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบันฑิตสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สาวิตรี รุญเจริญ. (2549). “นิทานทำให้เด็กฉลาด” วารสารศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น 14(2): 29-32.
วิลาสินี ทองแถบ. (2552). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะโดยใช้วัสดุเหลือใช้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาปฐมวัยศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Elena, C. and Vassiliki, R. (2012). The Contribution of Music and Movement Activities to Creative Thinking in Pre-School Children. Creative Education, 3(2): 196-204.
Edwards, L., Bayless, K., and Ramsey, M. (2009). Music and movement: A way of life for the young child. (6th ed.). Upper Saddle River, NJ: Merrill.
Gardner, H. (1993). Creating minds: an anatomy of creativity seen through the lives of Freud, Einstein, Picasso, Stravinsky, Eliot, Graham, and Gandhi. New York: Basic Books
Kyoung-HoonLew. (2015). Advanced Science and Technology Letters. Vol.92 Education pp.81-85.
Mayesky, M. (2013). Creative Activities for Young Children. 10th Ed. Belmont, Calif: Wadsworth Cengage Learning.
Montessori Preschool & Kindergarten Salmon Arm. (2014). Drama and Dance. [Available from: http://www.salmonarmmontessor.com/curriculum/art-music/.2014 May 2.
Tyler, L. E. (1983). Thinking Creatively. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Vygoysky, L. S. (2004). Imagination and Creativty in Childhood. Journal of Russian and East European Psychology, 42(1): 7-97.