การวางแผนการเงินส่วนบุคคล พฤติกรรมการออม และสุขภาวะทางการเงิน ของพนักงานบริษัทวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 3 บริษัท ในจังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิด-19 ที่ทวีคูณมากขึ้นทุกวันและส่งผลกระทบไปทั่วโลกเป็นวงกว้าง การศึกษาการวางแผนทางการเงิน พฤติกรรมการออม และสุขภาวะทางการเงินจึงมีบทบาทอย่างมากกับชีวิตประจำวันเพื่อรับมือกับสถานการณ์วิกฤติในอนาคต บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการวางแผนการเงินส่วนบุคคล พฤติกรรมการออม และสุขภาวะทางการเงินของพนักงาน 2) ศึกษาเปรียบเทียบสุขภาวะทางการเงิน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงาน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนการเงินส่วนบุคคล กับสุขภาวะทางการเงินของพนักงาน และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการออม กับสุขภาวะทางการเงินของพนักงาน เป็นงานวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ พนักงานบริษัทวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 3 บริษัท ในจังหวัดราชบุรี จำนวน 150 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การวางแผนการเงินส่วนบุคคลและพฤติกรรมการออมของพนักงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก แต่สุขภาวะทางการเงินของพนักงาน อยู่ในระดับปานกลาง 2) พนักงานที่มีระดับการศึกษา ความสมดุลระหว่างรายรับรายจ่าย การจัดการหนี้สิน ภาพรวมของรายได้ ประสบการณ์ลงทุนหรือความรู้ในสินทรัพย์ และภาพรวมสินทรัพย์ ที่แตกต่างกันมีสุขภาวะทางการเงินแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .001 3) พนักงานที่มี เพศ อายุ สถานภาพสมรส การเลือกออมเงินกับสถาบันการเงิน และมีบุคคลที่ต้องดูแลรับผิดชอบที่แตกต่างกันมีสุขภาวะทางการเงินไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4) การวางแผนการเงินส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาวะทางการเงิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 5) พฤติกรรมการออมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาวะทางการเงิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
Bank of Thailand. (2017). Thailand Economics Report 2017.
https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/en/thai-economy/state-of-thai-economy/annual-report/annual-econ-report-en-2017.pdf. 20 August 2022.
Brounen, D., Koedijk, E. K., & Pownall, R. (2016). Household financial planning and savings
Behavior. Journal of International Money and Finance, 69(1): 95-107. (In Thai)
Farrell, L., Fry, R. L., & Risse, L. (2016). The significance of financial self-efficacy
in explaining women’s personal finance behavior. Journal of Economic Psychology, 59(1): 85-99.
Kritsanamar, P., Chaipani, P., Vanikkul, M., Silacharoen, R., & Supakitcharak, N. (2011). Household Saving Behavior and Determinants of the Forms of Saving and Investment in Bangkok Metropolitan and Perimeter. Chulalongkorn Business Review, 33(129): 93-120. (In Thai)
Laokha, R. (2020). Personal Financial Planning of Higher Vocational Certificate Bangkok
Technical of Business Administration Vocational College. Bangkok: Ramkhamhaeng University. (In Thai)
Niram, C. (n.d.). Factors affecting the good financial health of citizens in Bangkok. Retrieved on 15 March 2024 from https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin92/6214155573.pdf (In Thai)
Nusith, A., Rachapradit, P., Jampachisri, K., & Adereksombat, K. (2014). Factors explaining
retirement saving adequacy for employees in Thailand. Journal of Business Administration 37(114): 39-52. (In Thai)
Pialuprasidh, P. (2017). Awareness of working people towards financial planning for retirement. Master of Business Services Degree Thesis: Mae Fah Luang University. (In Thai)
Tiwasasit, A., Chutivong, N., Vongchavalitku, B., & Ponklang, P. (2021). A Model of Factors
Controlling the Financial Well-being of Earners in Northeastern Thailand. Hatyai Academic Journal 19(1): 73-92. (In Thai)
Wongchan, R. (2010). Personal Financial Management. Bangkok: Stock Exchange of Thailand. (In Thai)
Xiao, J. J., Chen, C., & Chen, F. (2013). Consumer financial capability and financial satisfaction. Social Indicator Research 118(1): 415-432.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.
Zhengsen, Y. (2021). Factors Affecting Saving Behavior of Generation Z Employees. Bangkok: Dhurakij Pundit University. (In Thai)