แนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2

Main Article Content

เปรมฤดี กาละวงค์
ชัชภูมิ สีชมภู
พิมผกา ธรรมสิทธิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นอยู่และสภาพที่ควรจะเป็นในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส 34 คน ครู 58 คน รวม 92 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นอยู่ในการพัฒนาครูในภาพรวมอยู่ระดับมากและสภาพที่ควรจะเป็นในการพัฒนาครูภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) แนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มี 4 ด้าน คือ ด้านการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนา สำรวจและวิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาตนเองของครู ด้านการวางแผนออกแบบกิจกรรมพัฒนา ทำแผนระยะสั้นและยาว กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน กำหนดกิจกรรมพัฒนาที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของครู ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการดำเนินการตามกิจกรรมพัฒนา กำหนดเนื้อหาและกิจกรรมการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาผู้เรียน และด้านการติดตามและประเมินผลพัฒนา มีการติดตามเป็นระยะในรูปแบบกัลยาณมิตร พร้อมนำผลการประเมินมาเป็นสารสนเทศในการจัดทำแผนการพัฒนาครูให้มีการพัฒนาต่อเนื่อง


คำสำคัญ: แนวทางการพัฒนาครู, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, โรงเรียนขยายโอกาส

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

National Education Commission. (1999). National Education Act 1999 and amendments

(No. 2) 2002. Under the Office of the Prime Minister. (In Thai)

Office of the Education Council Secretariat. (2013). defines it as “In order to achieve success according to the goals of education, it is necessary There must be teachers with appropriate quality and standards through preparation and continuous development of teachers. Teacher ability is an important variable that directly predicts or expects the quality of students. High quality teachers He is skilled in organizing teaching and learning activities for students to practice, leading to true learning.” (In Thai)

Phrae Primary Educational Service Area Office, Area 2. (2023). Action plan 2023. Ministry of Education. (In Thai)

Prawthaisong, D. (2023). The guidelines development for teachers in creating learning innovation a case study of a school in Thoen 4 group Lampang primary educational service area office 2 Master's thesis. Educational Administration Uttaradit Rajabhat University (In Thai)

Raksakul, R. (2014). Defines it as "active teaching and learning (Active Learning) that emphasizes Develop the learning process By giving students the opportunity to practice on their own, encouraging students to apply various skills, linking knowledge to practice in solving problems. It is combined with the use of technology. Information is applied in teaching and learning. To increase academic potential appropriately and expand society of learning more broadly.” (In Thai)

Siripiyanan, S and Wangsrikoon, A. (2022). “A study of the implementation of teacher development to have characteristics in the 21st century of educational institution administrators. Under the Phichit Secondary Educational Service Area Office." Journal of Modern Learning Development. 7(6): 278-279. (In Thai)

Somphee, P. and Tiacharoen, S. (2019). “Human resource development. and being a learning organization of the aschool Under the jurisdiction of the Secondary Educational Service Area Office, Area 9”. Journal of Educational Administration Silpakorn University 10(1) : 517-518. (In Thai)

Srihom, A. (2023). Guidelines for developing teachers under the Nakhon Ratchasima PrimaryEducational Service Area Office, Area 3. Master's thesis. Educational administration Nakhon Ratchasima Rajabhat University. (In Thai)

Srisa-ard, B. (2017). Preliminary research. Bangkok: Suwithiyasan. (In Thai)

Yomsong, J. (2022). Guidelines for developing teachers in active learning management in Small schools in the Phuphanasak network. Under the Chumphon Primary Educational Service AreaOffice, Area 2. Master's Thesis. Educational administration Suratthani Rajabhat University. (In Thai)