การพัฒนาและสร้างสรรค์สำรับอาหารพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุตามหลักโภชนาการ ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

กนกวรรณ ปลาศิลา
วาสนา เสภา
ธงชัย ลาหุนะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนาตำรับอาหารพื้นบ้านจากภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้านของผู้สูงอายุ และ2) สร้างสรรค์ตำรับอาหารพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุตามหลักโภชนาการ ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากผู้ให้ข้อมูลหลักด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงที่สามารถประกอบอาหารทั้งอาหารคาวและหวาน น้ำสมุนไพรอย่างมีความชำนาญและ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านอาหาร ได้แก่ ผู้สูงอายุทั้งเพศหญิงและเพศชายที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 60 คน ที่อยู่ในศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุตลอดชีพตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ที่ประกอบอาหารทั้งอาหารคาว อาหารหวาน และ น้ำสมุนไพร ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ปลายเปิด แบบการประเมินกลั่นกรองความเหมาะสมใช้การประเมินความเหมาะสมของสำรับอาหารของผู้สูงอายุผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และวิเคราะห์เนื้อหาต่อการสร้างสรรค์ตำรับอาหารพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุตามหลักโภชนาการ


  ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาตำรับอาหารผู้สูงอายุโดยจัดทำตำรับมาตรฐาน ชั่ง ตวง วัด รสชาติ สีสัน ปริมาณที่เหมาะสมผู้วิจัยและผู้สูงอายุร่วมกันวิเคราะห์ พัฒนาตำรับอาหารให้มีรูปลักษณ์ รสชาติให้เหมาะสม โดยทดลองและพัฒนาตำรับอาหารด้านรูปลักษณ์ ชาติ ความพิถีพิถัน และสีสันของอาหาร จำนวน 3 ครั้ง ได้ตำรับอาหารมาตรฐาน 11 ตำรับ ได้แก่ 1 แกงแค 2 ปลานึ่งสมุนไพร 3 น้ำพริกมะขามอ่อน 4 แกงหน่อไม้ใส่ซีโครงหมู 5.น้ำพริกอ่อง 6.แกงผักเชียงดาใส่ปลาจี่ 7.แกงหยวกกล้วยใสวุ่นเส้น 8.น้ำพริกมะกอกใส่ปลาจี่ 9.ปลานึ่งสมุนไพร 10.น้ำสามเกลอ 11.น้ำสมุนไพร 2) การสร้างสรรค์ผู้วิจัยและผู้สูงอายุได้ร่วมกันคัดเลือกตำรับอาหารจาก 11 ตำรับ ให้จัดทำเป็นสำรับมาตรฐาน 1 สำรับประกอบด้วย แกงแค ปลานึ่งสมุนไพร น้ำพริกมะขามอ่อน น้ำสามเกลอและผู้วิจัยได้พัฒนาสร้างสรรค์ยกระดับจากตำรับมาตรฐานสู่สำรับอาหารที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการมีคุณค่าทางโภชนาการและถ่ายทอดตำรับอาหารให้ผู้สูงอายุ ได้แก่ ซุปแกงแค ข้าวมันน้ำพริกมะขาม สเต๊กปลาซอสสมุนไพร และ น้ำสามเกลอโซดา มีคุณค่าทางโภชนาการ ประกอบด้วย พลังงาน 628.55 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 76.98 กรัม โปรตีน 45.43 กรัม ไขมัน 15.54 กรัม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bureau of Nutrition. (2024) Thai Nutri Survey https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/thai-nutri-survey

Food and water sanitation practice manual For District Public Health. (2013) Bureau of Food and Water Sanitation, Department of Health, Ministry of Public Health, Bangkok: Agricultural Cooperatives Association of Thailand Limited.

Jareonsuk, P. & Colleagues. (1999). Factors affecting the choice of Thai food consumption among foreign tourists: A case study in Chiang Rai Municipality. Research Report. Chiang Rai: Chiang Rai Rajabhat University. .

Muakkun, M.(2012). Product creation to increase the value of food products in Khantoke sets. Chiang Rai: Chiang Rai Rajabhat University

Sepa, W, Manowang, J, Phaphothirat, K.(2024). Development of local food wisdom among the elderly in Wiang Nuea Subdistrict, Wiang Chai District, Chiang Rai Province. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 18(1), 189-201

Suwannapha, C, Woowong, O ,Suphametheesakul, S.(2018) “LocalFood:The Management Process for the Quality of Life and Social Ethics in Northern Communities” Journal of MCU Peace Studies,6(4):1306-1319

Tonwan, S, Boonkong, R.(2023)Creative Product Development For Healthy Food Processing Groups in Sanuk Province Group.(Sakon Nakhon Nakhon Phanom MukdaHan) Journal of Social Science and Cultural 7 (1): 112-126