การจัดการความรู้เพื่อพัฒนากลยุทธ์การจัดการพลังงานชุมชนในเขตภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

สุพจน์ ทนทาน
รณิด ปิงเมือง
วรรณะ รัตนพงษ์
นาวิน พรมใจสา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์ด้านพลังงานชุมชนในเขตภาคเหนือตอนบน 2) เพื่อจัดการความรู้ด้านการจัดการพลังงานชุมชนในเขตภาคเหนือตอนบน 3) เพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการจัดการพลังงานชุมชนในเขตภาคเหนือตอนบน และ 4) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การจัดการพลังงานชุมชนในเขตภาคเหนือตอนบน การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลตามจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 231 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้นำชุมชน ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ปราชญ์ชาวบ้าน รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการพลังงานระดับชุมชน จำนวน 57 คน และใช้แบบบันทึกการใช้พลังงานชุมชน ผู้วิจัยได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมสมองของผู้เข้าร่วมประชุม ทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก มีการกำหนดกลยุทธ์และพัฒนากลยุทธ์การจัดการพลังงานชุมชนในเขตภาคเหนือตอนบน และทำการประเมินความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ดังกล่าว โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 30 คน ที่ใช้เกณฑ์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียน ร้อยละ 84.4 พลังงานชีวมวล ร้อยละ 90.0 เทคโนโลยีพลังงาน ร้อยละ 78.4 เตาซุปเปอร์อั้งโล่  (เตาฟืน) ร้อยละ 80.5 ไฟฟ้า ร้อยละ 71.4 เชื้อเพลิงที่ใช้ประกอบอาหารลำดับที่ 1 คือ ไม้ฟืน ร้อยละ 35.9 เชื้อเพลิงที่ใช้ในการประกอบเกษตรกรรมเป็นหลักลำดับที่ 1 คือ น้ำมันดีเซล ร้อยละ 66.2 เชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับพาหนะในการเดินทางลำดับที่ 1 คือน้ำมันดีเซล ร้อยละ 64.5 ตามลำดับ  ด้านการจัดการพลังงานในครัวเรือนโดยรวมอยู่ในระดับมาก  (\inline \bar{X}  = 3.50) และการจัดการพลังงานในชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก  (\inline \bar{X}  = 3.55)  

ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ในด้าน 1. การวางแผนด้านการจัดการพลังงานชุมชน เป็นเรื่องการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนเพื่อบริหารจัดการพลังงานชุมชน ศึกษาสถานการณ์พลังงาน สำรวจข้อมูลศักยภาพด้านพลังงานชุมชน การวิเคราะห์เพื่อวางแผนการจัดการพลังงานชุมชนที่เป็นไปตามความต้องการของประชาชน 2. การผลิตพลังงาน พบว่า มีการผลิตพลังงานชีวภาพ  พลังงานชีวมวล ไฟฟ้าพลังน้ำ ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และผลิตพลังงานทดแทน 3. การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องการใช้พลังงานอย่างพอเพียง ใช้เท่าที่มีความจำเป็น และมีการวางแผนการใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน การใช้พลังงานทดแทนตามศักยภาพของชุมชน และใช้เทคโนโลยีพลังงานชุมชน รวมทั้งการใช้ไฟฟ้าอย่างถูกวิธีและใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน 4. การพัฒนาพลังงาน พบว่า ชุมชนมีส่วนร่วมใน  การพัฒนาพลังงานในชุมชน น้อมนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการพัฒนาพลังงานเพื่อให้มีพลังงานใช้อย่างพอเพียงและมีความมั่นคงทางพลังงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การศึกษาดูงานด้านพลังงานกับภาคีเครือข่าย และนำความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่ได้มาพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน และ 5. การอนุรักษ์พลังงาน เป็นเรื่องการสร้างความตระหนักและจิตสำนึกให้ประชาชน และเยาวชนในการอนุรักษ์พลังงาน ใช้พลังงานอย่างถูกวิธี และลดใช้พลังงาน ตรวจเช็คดูแลอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านและซ่อมแซมที่ชำรุด การบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า

มีการกำหนดวิสัยทัศน์ คือ “การบริหารจัดการพลังงานชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในเขตภาคเหนือตอนบน” และมีกลยุทธ์การจัดการพลังงานชุมชนในเขตภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ที่ 1 สร้างความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานชุมชน กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการพลังงานชุมชน กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาพลังงานทดแทน ส่งเสริมเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านพลังงาน กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม  และกลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันในการจัดการพลังงานชุมชน

 

The Knowledge Management Developing the Strategies for Community Energy Management in the Upper Northern Region of Thailand

This research was the quantitative and qualitative study with purposes to study the situation of community energy in the upper northern region, to draw out knowledge of community energy management in the upper northern region, to determine the strategies for community energy management, and to assess possibility of the strategies for community energy management in the upper northern region. The quantitative data obtained by using questionnaires as the tool for collecting data from 231 samples; on the other hand, the qualitative data was gathered by using the forms of in-depth interview from 57 key informants who were community leaders, representatives of energy responsibility, local wisdom, and other related agencies. The form of community energy use record was also administrated. The workshop was held for brainstorming of internal and external environment analysis, strategy design and development for community energy management in the upper northern region, and possibility assessment of such strategies by 30 scholars using means and standard deviations as the evaluation criteria.

Results of the quantitative study were revealed that most samples used renewable energy for 84.4%, biomass energy for 90.0%, energy technology for 78.4%, braziers for 80.5%, and electricity for 71.4%. Fuel used mostly in cooking was firewood (35.9%); operating agriculture was diesel (66.2%); and transportation was diesel (64.5%). The household energy management, in overall, was a high level (\inline \bar{X}  = 3.50), as same as the community energy management (\inline \bar{X} = 3.55).

Results of the qualitative study were showed that 1) Planning for community energy management: There was creating people’s participation procedure in planning to manage community energy, studying energy situation, surveying information of community energy’s potentiality, analyzing to plan for community energy management in accordance with people’s demands. 2) Energy production: There was producing of Bioenergy, Biomass energy, Solar power, Hydropower, and renewable energy. 3) Using energy efficiently: There was using energy sufficiently or as needed, planning to use energy in daily life, using renewable energy as the community’s potentiality, using the community’s energy technology, using electricity rightly, and using energy-saving appliances. 4) Energy development: The community participated in developing energy for itself; there was cherishing the Royal idea of sufficient economy as the way to develop energy to be used sufficiently and to have energy stability, knowledge sharing, observing energy works with network associates, and applying the obtained knowledge, skills, and experiences for developing the renewable energy technology. 5) Energy conservation: There was creating awareness and conscious mind in energy conservation to people and juveniles, using energy rightly, reducing energy use, checking and caring electric appliances in household and repairing the worn-out one, maintaining electric appliances and equipment.

Vision designation would be “managing community’s energy efficiently, promoting the environmental-friendly renewable energy, and creating energy stability in the upper northern region”. Besides, five strategies for community energy management in the upper northern region were proposed as follows: 1) Creating knowledge and understanding of community’s energy; 2) Promoting and supporting participation in community energy management; 3) Developing renewable energy, promoting technology and innovation of energy; 4) Promoting energy and environment conservation; and 5) Promoting collectively learning in community energy management.

Article Details

บท
บทความ