ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพุทธกระบวนทัศน์กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมของชาวไทลื้อในล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ และวิถีการดำเนินชีวิตของชาวไทลื้อในล้านนา ศึกษาพุทธกระบวนทัศน์ของชาวไทลื้อในล้านนา กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม และ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธกระบวนทัศน์ของชาวไทลื้อในล้านนา กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสาร และลงพื้นที่ชุมชนไทลื้อในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดน่าน และ จังหวัดพะเยา โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลหลักและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของชุมชน ผลการวิจัยพบว่า
ชาวไทลื้อเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ต่อมาอพยพเข้ามาอยู่ในล้านนาด้วยสาเหตุหลายประการเช่น การถูกเกณฑ์จากผู้ครองนครล้านนาในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ การค้าขาย การแสวงบุญทางพุทธศาสนา การลี้ภัยการเมือง และการติดตามญาติพี่น้อง ชุมชนไทลื้อนิยมตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ และที่ราบระหว่างภูเขาที่มีลำห้วยไหลผ่าน ทำนาปลูกข้าวโดยใช้แรงงานคนในครัวเรือน และแรงงานสัตว์ มีระบบเหมืองฝายเพื่อจัดการน้ำในการทำนา ครอบครัวของไทลื้อเป็นครอบครัวขยาย ผู้หญิงไทลื้อจะทอผ้าเพื่อทำเครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้ภายในครัวเรือน ด้านความเชื่อ มีเสาใจบ้านเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน มีวัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา
พุทธกระบวนทัศน์ของคนไทลื้อในล้านนาพบว่ามี 2 ด้าน ได้แก่ 1) พุทธกระบวนทัศน์ด้านนามธรรมซึ่งเป็นรูปแบบของคติความเชื่อเรื่องผี และคติความเชื่อทางพุทธศาสนา และ 2) พุทธกระบวนทัศน์ด้านรูปธรรมซึ่งเป็นรูปแบบของวิถีการดำเนินชีวิต รูปแบบของประเพณีพิธีกรรม และรูปแบบของวัตถุธรรมซึ่งเป็นรูปธรรมของความเชื่อทางพระพุทธศาสนา จากอิทธิพลความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้ส่งผลต่อพุทธกระบวนทัศน์ของคนไทลื้อ พบว่า พุทธกระบวนทัศน์ด้านนามธรรมซึ่งเป็นรูปแบบของคติความเชื่อเรื่องผีและพุทธศาสนาของชุมชนไทลื้อยังคงมีความสำคัญ ส่วนพุทธกระบวนทัศน์ด้านรูปธรรมซึ่งเป็นรูปแบบของวิถีชีวิต ประเพณีพิธีกรรมและวัตถุธรรม ได้เปลี่ยนแปลง และลดความสำคัญลง
ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพุทธกระบวนทัศน์ พบว่า พุทธกระบวนทัศน์ของคนไทลื้อในล้านนายังคงดำรงอยู่ในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดจากการปรับตัวและการฟื้นอัตลักษณ์ของคนไทลื้อใน 3 รูปแบบ (1) การดำรงอยู่ของพุทธกระบวนทัศน์ ได้แก่ การสืบสานนามสกุลไทลื้อ ความสัมพันธ์ของคนในสังคม หอผีในเฮินไทลื้อ (2) การผสมผสานของพุทธกระบวนทัศน์ ได้แก่ การผสมผสานคติความเชื่อดั้งเดิม และการผสมผสานคติความเชื่อทางพุทธศาสนากับการจัดการสมัยใหม่ และ (3) การปรับเปลี่ยนพุทธกระบวนทัศน์ ได้แก่ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การรื้อฟื้นอัตลักษณ์ความเป็นไทลื้อ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาไทลื้อในชุมชน การสร้างองค์ความรู้ผ่านงานวิจัยท้องถิ่นและจัดพิมพ์เผยแพร่
แนวทางการดำรงรักษาและฟื้นฟูพุทธกระบวนทัศน์ของชาวไทลื้อในล้านนา (1) ผู้นำหมู่บ้านต้องช่วยกันหาวิธีการในการฟื้นฟู รักษาและสืบสานวิถีวัฒนธรรมไทลื้อ (2) ให้วัดเป็นศูนย์กลางสืบสร้างวัฒนธรรมไทลื้อดั้งเดิม (3) ผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมในการศึกษา สืบค้น เพื่อฟื้นฟูวิถีวัฒนธรรมไทลื้อ (4) ชุมชนไทลื้อมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตน ตามวิถีวัฒนธรรมไทลื้อ (5) ชุมชนไทลื้อจัดกิจกรรมฟื้นฟูส่งเสริมวัฒนธรรมไทลื้อในเทศกาลต่างๆ (6) สนับสนุนให้วัฒนธรรมจังหวัดจัดทำโครงการหมู่บ้านวัฒนธรรมไทลื้อ และ (7) การสืบค้นองค์ความรู้ ภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวไทลื้อแต่ละชุมชน และสร้างรูปธรรมของอัตลักษณ์ชุมชนไทลื้อในแต่ละพื้นที่
A STUDY OF RELATIONSHIP BETWEEN BUDDHIST PARADIGM AND SOCIO-CUTURAL CHANGE OF TAI-LUE IN LANNA
The objectives of this thesis were to study the history and lifestyle of Tai Lue in Lanna, to investigate the Buddhist paradigms of Tai Lue in Lanna with the change of society and culture, to analyze the relationship between Buddhist paradigm of Tai Lue in Lanna and the change of society and culture. This study was the qualitative research included documentary reviews, field study of Tai Lue community in Chiang Mai Province, Nan Province, and Phayao Province, and interviewing of key informants, and non-participant observation. The findings of the research were as follows.
Tai Lue originally located in Xishuangbanna, Yunnan Province in People's Republic of China. Later, they migrated into Lanna because of forced in-migration by the rulers of Lanna in the early Rattanakosin period, trade, Buddhist pilgrimage, political persecution, and follow of the relatives who came earlier. Tai Lue community preferred to settle down in plain areas along the river banks and plain areas between mountains with small chains of a river passed by. The natural paddy rice cultivation was relied on labor force in the household and animal force. Irrigation system was created for management of water supply in their farms. Tai Lue family was an extended family; therefore, Tai Lue women weaved products for dressing and household appliances. In terms of belief, there was the major pillar in the community as the center of the village, and there was the temple as the place for performing the religious ceremony in Buddhism.
The Buddhist paradigm of Tai Lue in Lanna was divided into two aspects: 1) Abstract Buddhist paradigm that was the patterns of spiritual belief and Buddhism belief; and 2) Concrete Buddhist paradigm that was the pattern for the way of life, traditional ceremony, and Dhamma materials as the concrete of Buddhism belief. Influence from modern technology in the globalization impacted on Buddhist paradigm of Tai Lue as follows: Abstract Buddhist paradigm which was the pattern of belief in spirits and Buddhism of Tai Lue was still important; but Concrete Buddhist paradigm which was the pattern the way of life, traditional ceremony, and Dhamma materials was changed and less importance.
The analysis of relationship between Buddhist paradigm of Tai Lue in Lanna and the change of society and culture indicated that Buddhist paradigm of Tai Lue in Lanna was still existed in diverse patterns which were resulted from adjustment and renewed identity of Tai Lue and presented in three forms as follows. (1) Remaining of the Buddhist paradigm among Thai Lue in Lanna such as keeping of the Tai Lue’s surnames, relationship between people in society, spiritual house in Tai Lue’s homes. (2) Mixture of the Buddhist paradigm among Tai Lue in Lanna, for example the mixture of prior belief, and Buddhism belief with the modern management. (3) The shift of Buddhist paradigm among Tai Lue in Lanna including promotion of cultural tourism, recovery of Tai Lue identity, development of a resource for learning local wisdom of Tai Lue in the community, and knowledge management through the local research and publication.
The guidelines to preserve and recover the Buddhist paradigm of Tai Lue in lanna were as follows. (1) The village leaders should brainstorm to find the methods for recovery, maintenance, and heritage of Tai Lue culture. (2) The temple should be the center for preservation of traditional Tai Lue culture. (3) The community leaders should participate in study and search for recovery of Tai Lue cultural ways. (4) The Tai Lue community should participate in practice according to the Tai Lue cultural ways. (5) Tai Lue community should set up the activity to renew and promote Tai Lue culture in all tradition ceremonies. (6) Raising awareness of the provincial cultural office in initiation of the Tai Lue cultural village project. (7) Search for knowledge and local wisdom of Tai Lue in each community for creation of the concrete identity of Tai Lue community in each area.
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์