กลยุทธ์การพัฒนาการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กด้อยโอกาส โดยใช้วัดเป็นฐาน : กรณีศึกษา วัดดอนจั่น จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาการศึกษาในการยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กด้อยโอกาสของวัดดอนจั่น จังหวัดเชียงใหม่ 2. เพื่อศึกษาผลของการจัดการศึกษาโดยใช้วัดเป็นฐานที่ส่งผลถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กด้อยโอกาส และ 3. เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กด้อยโอกาส โดยใช้วัดเป็นฐาน ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้คือ การวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้ทั้งวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นกรณีศึกษา และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสังเกตบริบทและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกรณีศึกษาวัดดอนจั่น จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 45 คน ผู้วิจัยสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้วยเทคนิคเดลฟาย 3 รอบ จำนวน 3 กลุ่ม 21 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ การหาฉันทามติโดยวิธีการพหุลักษณะ (Multi-Attribute Consensus Reaching: MACR)โดยใช้การทดสอบความแตกต่างระหว่างระดับของครัสคาลและวัลลิส (Kruskal-Wallis One-way Analysis of Variance by Ranks Test)
ผลการวิจัยพบว่า ผลการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้รูปแบบการพัฒนาการศึกษาของวัดดอนจั่น ประกอบด้วย เป้าหมายการจัดการศึกษา หลักการจัดการศึกษา และกระบวนการบริหารและการจัดการศึกษา ศึกษาผลการจัดการศึกษาโดยใช้วัดเป็นฐานที่ส่งผลถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กด้อยโอกาส พบว่า 1. เด็กด้อยโอกาสทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2. เด็กได้รับการพัฒนาให้สามารถยกระดับตัวเองให้สูงขึ้น และ 3. เด็กทุกคนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่ดีงามในการดำรงชีวิต ผลการสอบถามกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 3 กลุ่ม เกี่ยวกับกลยุทธ์การพัฒนาการศึกษา ด้วยเทคนิคเดลฟาย พบว่า ระดับความเป็นฉันทามติของตัวบ่งชี้ในแต่ละด้าน โดยรวมมีฉันทามติเป็นเอกฉันท์ รายตัวชี้วัดทุกตัวชี้วัด มีมติเป็นเอกฉันท์ ได้กลยุทธ์การพัฒนาการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กด้อยโอกาสโดยใช้วัดเป็นฐาน ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ 1. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กด้อยโอกาส 2. ยึดหลักการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม 3. ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมค่านิยมที่ดีงามแก่เด็กด้อยโอกาส 4. ส่งเสริมการจัดการศึกษาและการดำรงชีวิตของเด็กด้อยโอกาส
Strategies to enhance the quality of life of disadvantaged children by using temple as a base : A case study of Watdonchan chiangmai
The purposes of this research were: 1. To study educational development model for enhancing the quality of life of disadvantaged children at Wat Don Chan Temple in Chiang Mai Province; 2. To investigate effects of educational administration with the temple as a base for enhancing the quality of life of disadvantaged children; and 3. To design strategy for educational development and increasing quality of life of disadvantaged children with the temple as a base. The research methodology was mixed methods included the qualitative part which focused on case study, and the quantitative part which Delphi technique was applied. The qualitative data was gathered by observation of the context, and semi-structure interviews of 45 key informants who were related with Wat Don Chan Temple in Chiang Mai Province; on the other hand, the quantitative data was collected by Delphi technique through the three rounds of three panels of 21 experts. The data was analyzed by means, standard deviations, medians, interquartile ranges, the Multi - Attribute Consensus Reaching (MACR), and the Kruskal-Wallis One-way Analysis of Variance by Ranks Test.
The findings from this research were revealed that the key informants stated that educational development model of Wat Don Chan Temple in Chiang Mai Province were consisted of educational administrative goals, educational administrative principles, and management process and educational administrative process. The effects of educational administration with the temple as a base for enhancing the quality of life of disadvantaged children were indicated as follows: 1. All disadvantaged children were better quality of life; 2. The children were enhanced abilities to be able to up themselves to the higher level; and 3. The children employed morals, ethics, and values in their daily lives. The results of Delphi technique application with the three experts were shown that consensus of the experts on indicators of each aspect, in the overall was generally agreed, and also in each indicator. Last but not least, strategies for educational development and increasing quality of life of disadvantaged children with the temple as a base were composed of four procedures: 1. Improving quality of life of disadvantaged children; 2. Emphasizing participatory approach in administration and management; 3. Cultivating morals, ethics, and values in disadvantaged students; and 4. Supporting education administration and living of the disadvantaged children
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์