แนวทางการจัดการตนเองของชุมชนจากผลกระทบของภัยพิบัติทางธรรมชาติ ด้านแผ่นดินไหวในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ราเชนทร์ พูลทรัพย์
บุญสม วราเอกศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับแนวรอยเลื่อนที่มีพลังพาดผ่าน และวิธีการเอาตัวรอดจากการเกิดแผ่นดินไหวของประชาชน ผู้นำชุมชน และผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่บนแนวรอยเลื่อนที่มีพลังพาดผ่าน 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติด้านแผ่นดินไหว และ 3) ศึกษา และกำหนดแนวทางในการจัดการตนเองของประชาชน และชุมชน รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งก่อนประสบภัย ระหว่างประสบภัย และภายหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติด้านแผ่นดินไหว

ผลการศึกษาด้านการรับรู้ของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยในจังหวัดเชียงรายเกี่ยวกับรอยเลื่อนแผ่นดินไหวพบว่า ก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เคยทราบมาก่อนว่า ชุมชนที่อาศัย ตั้งอยู่บนแนวรอยเลื่อนที่มีพลังพาดผ่าน อีกทั้งไม่เคยรู้สึกหวั่นวิตก กับสถานการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในที่อื่นๆ หลังจากการเกิดแผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ในตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว ประชาชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยรอบจุดศูนย์กลาง รู้สึกตื่นตระหนก หวาดกลัว ขาดขวัญกำลังใจ ที่มีต่ออาฟเตอร์ช๊อกที่เกิดขึ้นตามมาเป็นระยะ เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกเคยชินและไม่รู้สึกกลัวกับสถานการณ์ดังกล่าวอีก

ด้านประชาชนในที่อาศัยในแนวรอยเลื่อนที่ยังไม่เคยเกิดแผ่นดินไหว มีความรู้สึกกังวล และหวาดกลัว หากเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ ส่วนการเอาชีวิตรอดจากแผ่นดินไหว ประชาชนส่วนใหญ่จะใช้การหนีออกจากตัวอาคารบ้านเรือน อีกทั้งประชาชนยังต้องการให้มีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหวและการเอาตัวรอดจากภัยพิบัติในชุมชนอีกด้วย

ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการภัยพิบัติแผ่นดินไหวพบว่า เกิดจากการขาดองค์ความรู้ในด้านการจัดการกับภัยแผ่นดินไหว การขาดงบประมาณในการจัดการช่วยเหลือ การขาดความกระตือรือร้นต่อภัยแผ่นดินไหว อีกทั้งมีความเสี่ยงจากสภาพของบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย รวมทั้งยังไม่มีหน่วยงานในพื้นที่เข้ามาช่วยตรวจสอบและแก้ไข

แนวทางในการจัดการตนเอง เป็นการสร้างรูปแบบของการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือจากภัยแผ่นดินไหว โดยได้จำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มประชาชนและชุมชน เป็นการสร้างองค์ความรู้ และการเตรียมพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติด้านแผ่นดินไหว 2) กลุ่มผู้นำชุมชน และผู้นำท้องถิ่น ซึ่งต้องมีความรู้ความสามารถในการจัดการภัยพิบัติด้านแผ่นดินไหว และ 3) กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมีการสนับสนุนในด้านนโยบาย และงบประมาณ รวมทั้งสร้างจิตสำนึกในการจัดการภัยพิบัติด้านแผ่นดินไหว

การจัดการตนเองของชุมชน มุ่งเน้นในการจัดการกับปัญหาด้านแผ่นดินไหว โดยการเสริมสร้างองค์ความรู้จากประชาชน และชุมชนให้เข้ามาช่วยคิดและแก้ไขปัญหา เพื่อเตรียมพร้อมที่จะรับกับสถานการณ์ของการเกิดภัยแผ่นดินไหวได้โดยตัวเองในอนาคต

 

Community Self-Management Guidelines for Earthquake Disaster Impact in Chiang Rai Province

This research was aimed to 1) gather awareness on active fault and methods of survival from earthquake of public, community leaders, and local government administrators living in the active fault zone; 2) investigate problems and obstacles on management of natural disaster, earthquake; and 3) study and determine a guideline for self-management among public, community, and local administrative organizations in pre-occurrence, encountering and post attack from natural disaster, earthquake.

The results on investigating knowledge of people in the risk areas in Chiang Rai Province about fault line prior eruption of earthquake on 5 May 2014. Majority of people did not know before that the community posited on the fault line containing the accumulated stress force and they were no concern about quakes occurred in other areas. After experiencing earthquake where the epicenter was in Jommokkaew Sub-district, Mae Lao District, the people were in shock, fear, and depressiveness toward the subsequent aftershocks. However, when the disastrous situation returned to normalcy, the people were acquainted with and showed no more fears toward the quake.

People residing in the fault line areas where the quake did not occur yet showed concern and fear about whether the earthquake might hit and damage their residence. Regarding survival preparation against the quake, most of the people chose to get away from their habitats while the quake encountering, and the people would like the involved agencies to orient knowledge for the community about earthquake and survival tips to accommodate the disaster.

Problems and obstacles were lack of knowledge in handling earthquake disaster, inadequate budget on aid support, disinterest in earthquake disaster, risks on people habitat’s condition, and no assistance on investigating and fixing problems from government agencies in the area. 

Self-management guideline was designed for preparedness on earthquake disaster, and could be divided into three groups as follows: 1) public and community groups should be emphasized on knowledge-based and preparedness for encountering of earthquake disaster; 2) community and local leaders should enable to deal with earthquake disaster; and 3) local administrative organizations and associated organizations should support especially in policy, budget, and raise of awareness in earthquake disaster management.

The community self-management focused on accommodation with earthquake disaster and involvement of people and community in knowledge empowering; so that, the community were ready to accommodate the earthquake disaster in the future.

Article Details

บท
บทความ