การพัฒนางานวิชาการของสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยสันติคีรี สังกัดสำนักงานการศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3

Main Article Content

สายใจ ไวคม
ปรีชาชาญ อินทรชิต
กฤษ ไชยดวงจินดา
ชญาดา วรรณภิระ

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยสันติคีรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3 ประชากรของการวิจัยครั้งนี้คือ ครูผู้สอน จำนวน 85 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน

ผลการวิจัยพบว่า สภาพการพัฒนางานวิชาการของสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยสันติคีรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.82) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น (ค่าเฉลี่ย = 3.87) รองลงมา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย = 3.84) ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา (ค่าเฉลี่ย = 3.83 ) ด้านการวัดผลประเมินผลและการดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน (ค่าเฉลี่ย = 3.80) และ ด้านการพัฒนาการใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ค่าเฉลี่ย = 3.75 )

ข้อเสนอแนะ พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาการนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ และบริหารจัดการการใช้หลักสูตรให้เหมาะสม (ความถี่ = 26)  ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มีการสนับสนุนให้ครูมีการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคลที่เน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิดของผู้เรียน (ความถี่ = 21)  ด้านการวัดผลประเมินผลและการดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน มีการกำหนดนโยบายและขั้นตอนการดำเนินงานกระบวนการการวิจัย (ความถี่ = 20) ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น มีการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของนักเรียนทุกด้าน รวมทั้งสืบสานจารีตประเพณีศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น (ความถี่ = 26) ด้านการพัฒนาและใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา คือ ประเมินการใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ความถี่ = 25)         

แนวทางการพัฒนางานวิชาการ พบว่า สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานควรกำหนดนโยบายการจัดโครงสร้างให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการของผู้เรียน พัฒนาครูผู้สอนให้เน้นความสำคัญของการสอนให้มากกว่าในตำรา ควรมีการปรับเปลี่ยนในเรื่องการย้ายของบุคลากรที่ทำให้การพัฒนากระบวนการเรียนรู้และ การแก้ปัญหาขาดความต่อเนื่อง ครูผู้สอนควรมีความรู้ประสบการณ์ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ดี  ใช้สื่อเทคโนโลยี ที่ทันสมัยและพอเพียงกับความต้องการ ครูผู้สอนควรจัดทำแผนเกี่ยวกับการวัดผล ประเมินผล ควรส่งเสริมสถานศึกษาที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันจัดการสัมมนาทางวิชาการ ควรเพิ่มความรู้เพื่อให้ชุมชน ชาวไทยภูเขา มองเห็นความสำคัญของการศึกษา  จัดให้มีการออกแบบการเรียนการสอนที่ดี ควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนฝึกอบรมเพิ่มประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอน

 

Academic Development of Education Development Network Group Doi Santikeeree under Chiangrai Primary Educational Service Area Office 3

The purposes of the investigation were to study situations, problems, and recommendations of academic management among educational institutions in the Doi Santikeeree educational development network group. The Population of this study were 85 teachers and 10 experts.

The results were revealed that among schools in the Doi Santikeeree educational development network group under Chiang Rai Primary Educational Service Area office 3, their academic development conditions in the overall was entirely high level (mean = 3.82); when considering in each aspect of academic development, all aspects were high level also. The first mean score was cooperation planning with other organizations in academic development (mean = 3.87); the second mean score was development of learning process (mean = 3.84); the third mean score was curriculum development of educational institutions (mean = 3.83); the forth mean score was evaluation and credit transfer (mean = 3.80); and lastly, development of instructional aides and technology for learning (mean = 3.75).

The Doi Santikeeree educational development network group raised five recommendations as follows: 1) curriculum development of educational institutions and curriculum administration should be proper (frequency = 26); 2) development of learning process should support the lecturers preparing the contents and activities corresponding with individuals and emphasis of thinking process of student (frequency = 21); 3) evaluation and credit transfer should add self-determined policy and research process (frequency =20); 4) cooperation planning with other schools and organizations in academic development should cover resource mobilization for education, reinforcement of the student growth in all dimensions as well as inheritance of local norms, traditions, arts, and culture (frequency = 26); and finally, development of instructional aid and technology for learning should evaluate instructional aides, innovation, and technology in learning (frequency = 25).

The development academic approaches were proposed that The Basic Education Commission should define the policy of construction properly for demands of learners, strengthen lecturers to emphasize their teaching rather than study in textbook, adjust lecture movement that affected learning process, and resolve discontinuous learning. On the other hand, lectures should be knowledgeable and experienced in management of learning process, using modern instructional aids and technology and also essential for the need. Moreover, lecturers should plan for evaluation and assessment, encouragement of educational institutes which were members of the network in organizing the academic seminar, increment of knowledge for community and mountaineers to recognize education importance, well design of learning and teaching, and lastly, add-on coaching and additional experience in learning and teaching process.

Article Details

บท
บทความ