ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่ความสัมพันธ์ต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับประถมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยเป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Survey Study) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียน ขนาดเล็ก กลางและใหญ่ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายจำนวน 396 คน โดยใช้แบบประเมินแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก Children’s Depression Inventory (CDI) ฉบับภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์
ผลการศึกษา พบว่า จากจำนวนนักเรียน 396 คน เป็นเพศชาย จำนวน 210 คน (ร้อยละ 53) อายุ 11 -12 ปี จำนวน 228 คน (ร้อยละ 57.7) และกำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 มากที่สุดจำนวน 155 คน (ร้อยละ 39.1) พบเด็กที่มีภาวะซึมเศร้าจำนวน 156 คน ร้อยละ (39.4) โดยเมื่อพิจารณาคะแนนซึมเศร้าตามรายด้าน พบว่า ด้านความรู้สึกเบื่อหน่ายและอาการทางกายมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดคือ 3.9 รองลงมา คือ ด้านความรู้สึกไร้ประสิทธิภาพมีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.9 และน้อยที่สุดคือด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่นมีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.5 และอาการ 5 อันดับแรก ที่เด็กตอบมากที่สุดคือ ต้องใช้ความพยายามอย่างหนักทุกครั้งที่ทำการบ้าน (ร้อยละ 33.6) ไม่สามารถตัดสินใจอะไรต่างๆด้วยตนเอง (ร้อยละ 24) ทำอะไรไม่ดีเท่าคนอื่น (ร้อยละ 17.9) สิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นเป็นความผิดของฉัน (ร้อยละ 16.9) และมีหลายวันที่ไม่รู้สึกอยากกินอาหาร (ร้อยละ 15.4) ตามลำดับ
ปัจจัยที่ความสัมพันธ์ต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับประถมศึกษา วิเคราะห์โดยใช้สถิติ Pearson Chi-Square พบว่า ผลการสอบครั้งสุดท้าย เงินค่าขนมของนักเรียน และรายได้ของครอบครัว มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับประถมศึกษา นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางให้ทางโรงเรียนและหน่วยงานด้านสุขภาพต่างๆ นำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อทำเป็นแนวทางการส่งเสริมสุขภาพจิตของเด็กต่อไป
The Factors Contributing to Depression of Students among Primary School in Muang Chiang Rai District, Chiang Rai Province
The study aimed to examine the prevalent of depression and the factors related to depression in primary school students in Muang District, Chiang Rai Province. It was a cross-sectional survey study. The samples were 396 primary school students studied in grade 4 to 6 of small, medium and large schools in Muang District, Chiang Rai Province. In addition, the instrument used to assess the depression was Thai version of Children’s Depression Inventory (CDI-Thai). Frequency, percentage, mean, standard deviation and chi-square were used in data analysis.
The results presented that total 396 students, 210 (53 %) were male, 228 (57.7 %) aged 11-12 years, and 155 (39.1%) studied in grade four. According to the assessment of the depression, the study found that 156 (39.4%) were depressed. When considering the depression into each aspect, the results manifested that the feeling bored and the physical symptoms occurred, was the highest mean score as 3.9; the feeling inefficiencies was the second mean score as 2.9; on the other hand, the relationships with others as the lowest mean score as 1.5. Furthermore, the study indicated that the top five symptoms which were high score by using Thai version of Children’s Depression Inventory included requirement of hard efforts to do homework (33.6%), could not make decisions by myself (24%), could not do anything as well as others people (17.9%), bad things happened was my fault (16.9%), and poor appetite for several days (15.4%), respectively.
The factors related to depression in primary school students were analyzed by Pearson Chi-Square. The result showed that the result of final exam, pocket money for students, and family income were associated with depression in primary school students with statistically significant at the 0.05 level. This study could be used as a guideline for the various schools and health care organizations to set up the data base and approach to promote mental health in children.
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์