การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการจัดการภัยพิบัติแห่งชาติของกระทรวงกลาโหม

Main Article Content

ทิพชัย ทิพยุทธ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการจัดการภัยพิบัติของกระทรวงกลาโหม 2) ศึกษาระดับการจัดการภัยพิบัติแห่งชาติของกระทรวงกลาโหม 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับการจัดการภัยพิบัติแห่งชาติของกระทรวงกลาโหม และ 4) แสวงหาแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการจัดการภัยพิบัติแห่งชาติของกระทรวงกลาโหม ประชากรเป้าหมายในการศึกษาคือข้าราชการทหารที่สังกัดหน่วยที่ได้รับมอบให้ปฏิบัติงานด้านการจัดการภัยพิบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์คาโนนิคอล และการวิเคราะห์เส้นทาง

ผลการวิจัยพบว่า 1) กระทรวงกลาโหมมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการจัดการภัยพิบัติอยู่ในระดับปานกลาง 2) กระทรวงกลาโหมมีการจัดการภัยพิบัติแห่งชาติอยู่ในระดับปานกลาง 3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์กับการจัดการภัยพิบัติแห่งชาติในระดับสูง (r = .881) และ 4) แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการจัดการภัยพิบัติแห่งชาติของกระทรวงกลาโหม ควรมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้วยการฝึกอบรมการคิดวิเคราะห์ และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในจัดการภัยพิบัติเป็นหลักจะส่งเสริมให้การจัดการภัยพิบัติแห่งชาติของกระทรวงกลาโหมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

 

Human Resource Development for the National Disaster Management in the Ministry of Defence

The purposes of this study were: 1) to study human resource development in management of natural disaster relief within the Ministry of Defence; 2) to investigate the management of national disaster relief within the Ministry of Defence; 3) to indicate relationship between human resource development and the management of national disaster relief within the Ministry of Defence; and 4) to propose a guideline for human resource development in management of natural disaster relief within the Ministry of Defence. Population of the study were arm forces who were served for management of natural disaster relief. Appliances used in the research were questionnaires and in-depth interviews; and statistics used in the research were percentages, means, standard deviations, Canonical correlation, and Path analysis.

The results were found that 1) The Ministry of Defence provided human resource development in management of natural disaster relief at medium level; 2) The Ministry of Defence served in management of natural disaster relief at medium level; 3) The relationship between human resource development and management of national disaster relief were high level (r = .881); and 4) The blue print for human resource development in management of national disaster relief for the Ministry of Defence was revealed that the Ministry of Defence should enhance capacity of arm forces by provision of workshops mainly for practicing in critical thinking and management of natural disaster relief  in order heighten efficiency in management of natural disaster relief.

Article Details

บท
บทความ