พลังขับเคลื่อนการบริหารจัดการโรงเรียนนิติบุคคลในกำกับของรัฐ : กรณีศึกษาโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบในการสร้างพลังขับเคลื่อนโรงเรียนนิติบุคคลในกำกับของรัฐ กรณีศึกษา โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยและศึกษาพลวัตหรือปัจจัยหนุนเนื่องในการสร้างพลังขับเคลื่อนจนสามารถเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านการบริหาร บุคคลที่ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ คณะผู้บริหาร 5 คน ครู 20 คน นักเรียน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 5 คน สมาคมศิษย์เก่า 5 คน ครูอาวุโสที่เกษียณอายุราชการ 5 คนและผู้ปกครองนักเรียน 5 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจำนวน 3 ชุด ชุดที่ 1 สำหรับผู้บริหารโรงเรียนและหัวหน้างาน ชุดที่ 2 สำหรับคณะกรรมการบริหารโรงเรียน ชุดที่ 3 สำหรับนักเรียน การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์แก่นสาระ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยใช้การตรวจสอบสามเส้า (Triangulation)
ผลการวิจัยพบว่า มีองค์ประกอบในการสร้างพลังขับเคลื่อนหลายประการที่ทำให้โรงเรียนแห่งนี้บริหารจัดการประสบผลสำเร็จ องค์ประกอบดังกล่าวมีอยู่ 6 ประการ ได้แก่ 1) ด้านการนำองค์กร 2) ด้านการวางแผนการทำงานเชิงกลยุทธ์ 3) ด้านการรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย 4) ด้านกลไกของระบบงาน 5) ด้านบุคลากร 6) ด้านความสำเร็จของโรงเรียนในภาพรวม โรงเรียนมีปัจจัยหนุนเนื่องเป็นนวัตกรรมที่โรงเรียนสร้างขึ้นคือ Education Work System มี 4 องค์ประกอบคือ 1) ปัจจัยนำเข้าที่สำคัญคือตัวนักเรียน 2) หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 3) กระบวนการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม 4) ระบบเครือข่ายผู้ปกครอง
Motive Power Management of the Charter School : A Case study ofBunyawatWitthayalai School
This research aimed to study components of motive power building of autonomous schools, Bunyawat Witthayalai School, and dynamic factors or reinforcement factors of driving force building that would push the school to be a model for administration and management. The key informants were five school administrators, 20 teachers, 10 students, five members of school committee, five members of school alumni, five retired teachers, and five parents of student. The research tools were participatory observation forms and the structured interviews which were prepared for three groups: school administrators and teachers, school board, and students. As this study was the qualitative research, content analysis was applied, and triangulation was administrated for checking of appropriateness and accuracy of the data.
The finding revealed that the components of motive power building driving the school to be successful were consisted of six aspects as follows: 1) organizational leadership; 2) strategic planning; 3) attention to the opinions of students and all beneficiaries; 4) effectiveness of the operating system; 5) personnel management; and 6) overall success of the school. In addition, the school was motivated by the school’s initiative called “Education Work System” which was featured four factors: 1) input which students were significant; 2) curriculum and its administration; 3) process for cultural inheritance; and 4) parental network system.
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์