ประสิทธิภาพในการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

สันติ์ ศรียา
นาวิน พรมใจสา
ประยูร อิมิวัตร์
จันจิรา วิชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ และปัญหาของการให้บริการสาธารณะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน ศึกษาประสิทธิภาพการบริการสาธารณะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน วิเคราะห์สภาวะแวดล้อมของกระบวนการในการบริการสาธารณะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน และกำหนดแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการสาธารณะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยได้แก่ นายกเทศมนตรี จำนวน 186 คน เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 321 ราย และประชาชนผู้มาใช้บริการ จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test สำหรับตัวแปรเพศ และสถิติ One Way ANOVA สำหรับตัวแปรสถานภาพ จังหวัด อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ส่วนตัวต่อเดือนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า สภาพ และปัญหาของการให้บริการสาธารณะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน มีสภาพปัญหาอยู่ในระดับมาก ได้แก่ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว ด้านการบริหารจัดการ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ส่วนด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น อยู่ในระดับมากที่สุด

ประสิทธิภาพการบริการสาธารณะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน สรุปได้ว่า บริการสาธารณะอยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน คือ สถานภาพ ระดับการศึกษาและรายได้ส่วนตัวต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีระดับประสิทธิภาพการบริการสาธารณะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 นอกนั้นไม่แตกต่างกัน

การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมด้านจุดแข็ง คือ การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมการร่วมมือกันทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน จุดอ่อน คือ หน่วยงานขาดความพร้อมทางด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์บางประการ สำหรับการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน โอกาส คือ หน่วยงานสามารถเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการสาธารณะทุกขั้นตอนและอุปสรรค คือ การปฏิบัติงานของหน่วยงานไม่สามารถทำได้อย่างครบถ้วน ด้วยติดขับกับระเบียบบางประการที่ไม่เอื้อต่อการดำเนินงานบริการสาธารณะ    

การกำหนดแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการสาธารณะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน  โดยต้องสนับสนุนการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาท้องถิ่น ส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรการจัดฝึกอบรมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการการจัดทำแผนกลยุทธ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง กำหนดสัดส่วนของโครงการต่างๆ ในการให้บริการสาธารณะที่เกิดขึ้นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยให้มีสัดส่วนของโครงการที่มาจากประชาชนร่วมอยู่ด้วย


Public Services Administration Effectiveness of Local Administration Organizations in Thailand Northern Region

The aims of this study were to investigate state, problems, and effectiveness, to analyze circumstance of the administration, and to formulate guidelines empowering public services provision by local administration organizations in Thailand northern region. The samples were 186 municipality mayors, 321 local administration organization officials, and 400 civilians utilizing public services. Research instruments were questionnaire, interview, and focus group discussion. The data analysis was employed percentage, mean, standard deviation, t-test for gender variables, and one-way ANOVA for other variables including status, province, age, education, career, and monthly income. The set statistical significance was .05. The results were shown as follows:

State and problems in utilizing public services provided by local administration organizations in northern region of Thailand were observed that the aspects holding the highest problem level were arts and culture, ritual, tradition, and indigenous knowledge. The aspects holding the high problem level were basic infrastructure in regard to community; social order management and peace keeping measure; planning, investment, commercial and tourism promotion; and environment and natural resources management and preservation.

Effectiveness in public services provision by local administration organizations in northern region of Thailand was also reported that public services were rated at the high level in all aspects. The hypothesis testing results revealed that the samples with different personal factors including status, education, and monthly income were significantly different effectiveness on public services provided by local administration organizations at the .05 confidence level. However, there was no significant difference on other factors.

Circumstance analysis results indicated that strengths was people’s participation in closely working environment between local administration organizations and people; weaknesses was lack of budget in public services provision; opportunity was local administration organizations allowing people’s participation in public services provision in all stages; threats was some government regulations hindering comprehensive administration.
The guidelines empowering the effectiveness of public services provision of local administration organizations in Thailand northern region were proposed by formulation of vision, goals, and strategies in local development; strengthening of curriculum development in the form of training; engagement of people’s participation in formulating strategic plan of local administration organization; and balance proportion of projects on public services provided by local administration organizations with proportion emphasis on projects initiated by the public.

Article Details

บท
บทความ