การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการพัฒนาทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน และเปรียบเทียบทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับปฐมวัยปีที่ 2/1 ที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลนาสี อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน และแบบประเมินทักษะการฟังและการพูดที่สร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านมีความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูดทั้งโดยภาพรวมและ รายด้าน ด้านการฟัง โดยภาพรวมหลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.28 ด้านการพูด โดยภาพรวมหลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.06 ความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้นิทานพื้นบ้านด้านการฟัง การพูด สูงกว่าความสามารถทางภาษาก่อนการจัดกิจกรรมโดยใช้นิทานพื้นบ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน
The Development of Listening and Speaking Skills for Early Childhood by Using Folk Tale-telling Activities.
The purposes of this research were to study the development of listening and speaking skills of early childhood by using folk tale-telling activities. Then we compared listening skill and speaking skill of early childhoods before and after the activities. The sample group was the second year of early childhoods, 4-5 years old, in Childhood Development Center. Tambon Na si, Suwanna Khuha District, Nongbua-Lamphu Province. There ware 15 students, studied in the second semester of academic year 2010 by using purposive sampling method. The instruments used for data collection were 2 types: Lesson plan of folk tale-telling activities and The form of listening and speaking skills accessment. The statistics used to analyse the data were mean. Standard deviation and t-test dependent sample for hypothesis testing. The results of the findings were: The childhoods who had folk tales-telling activities, they were all good at language on listening and speaking skills. The means of all listening skills after the activities was 16.28. The means of all speaking skill after the activities was 17.06. The language ability of early childhood in listening and speaking skills after the activities was higher than before the activities (statistically significant on all espects at the .01 level).
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์