ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากัม-ไทกับภาษาเยว่ถิ่นกาวหยาง

Main Article Content

ฉวน เฉิง
ธนานันท์ ตรงดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากัม-ไท กับ ภาษาเยว่ถิ่นกาวหยาง (ภาษาจีนกวางต้ง) ด้วยการวิเคราะห์เสียงปฏิภาคของคำศัพท์พื้นฐานและเพื่อจัดรูปแบบของเสียงปฏิภาคในภาษาเยว่ถิ่นกาวหยางกับภาษาไทย ภาษาจ้วง ภาษาปู้ยี และภาษากัม ข้อมูลได้จากนำรายการคำศัพท์พื้นฐานของภาษากัม-ไท จำนวน 1,228 คำ ไปสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาเยว่ถิ่นกาวหยางจำนวน 2 คน และข้อมูลภาษากัม-ไท ได้จากหนังสือรายการคำศัพท์ภาษากัม-ไท นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ และนำเสนอ

ผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า พบคำที่มีเสียงและความหมายคล้ายกันทั้ง 5 ภาษา มีจำนวนทั้งหมด 520 คำ จากการวิเคราะห์และจัดรูปแบบของเสียงปฏิภาคของพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ แล้วพบว่ามี 2 รูปแบบคือคำร่วมเชื้อสายแท้ กับคำร่วมเชื้อสายน่าสงสัย คำร่วมเชื้อสายแท้มีจำนวน 307 คำ มีคำที่อยู่ในหมวดคำกริยามากที่สุด รองลงมาคือหมวดคำนาม ส่วนหมวดคำที่พบน้อยที่สุด คือ หมวดคำลักษณนาม

ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปข้อมูลไปใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษาตระกูลไทกับภาษาเยว่ถิ่นอื่นๆ ต่อไปได้

 

The Relationship between Kam-Tai Language and Gaoyang Yue Language

This thesis aims to study the relationships between Gaoyang Yue and Kam-Tai languages through analyses of sound correspondences and sorting the patterns of sound correspondences amongs Gaoyang Yue, Thai, Zhuang and Kam. Based on 1,228 basic wordlist, the data are gathered by interviewing 2 Yue informants and by collecting Kam-Tai basic words from the book entitled ‘Kam-Tai Wordlists’. The data are analyzed by the method of comparative linguistics and the results of this research are presentedby analytical description.

The results reveal that there are 520 words which are similar in sound and meaning. These words are analyzed and sorted out the patterns of correspondences on consonants, vowels and tones. There are 307 basic words which can be regarded as real cognates. In addition, it is found that high amount of cognates are in odder from verbs and nouns. Classifiers are found less.

The results of this research can be used as a data for studying the relationship between dialects in Tai Language family and other dialects of Yue.

Article Details

บท
บทความ