ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยว ในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง: กรณีศึกษาประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว และสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวในแถบ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง กรณีศึกษาประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อจำลองรูปแบบความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ที่เข้ามาท่องเที่ยวในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยมีประชากรในงานวิจัยนี้ ได้แก่ นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวประเทศในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง จำนวน 10,157,473 คน และจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,139 คน โดยเลือกพื้นที่จากแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในประเทศนั้นๆ โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (accidental sampling) ซึ่งตัวแปรที่ใช้ศึกษาประกอบด้วย 4 ตัวแปร ได้แก่ คุณลักษณะของนักท่องเที่ยว (TDA) มุมมองด้านวัฒนธรรม (CA) ความคาดหวังในผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว (TPE) และความพึงพอใจด้านราคา (CS) และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามภาษาอังกฤษ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการหาค่าสถิติพื้นฐาน และการใช้โปรแกรม LISREL ในการพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
ผลการวิจัยพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ 14 ตัว มีค่าความ สัมพันธ์ในระดับสูง แสดงว่า ตัวแปรสังเกตทั้ง 14 มีความสัมพันธ์กันมาก เมื่อนำตัวแปรสังเกตได้ มาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องที่มีต่อตัวแปรแฝงทั้ง 4 พบว่า ตัวแปรสังเกตได้ทุกตัว สามารถเป็นองค์ประกอบของตัวแปรแฝงได้จริง และเมื่อนำแบบจำลองความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งหมด มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมลิสเรล พบว่า แบบจำลอง ที่อยู่ในรูปแบบประหยัด มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 208.96 df เท่ากับ 56 ค่า p เท่ากับ 0.00 ค่า GFI เท่ากับ 0.97 ค่า AGFI เท่ากับ 0.95 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.049 ค่า CFI เท่ากับ 0.98 อีกทั้งยังพบว่า ตัวแปรแฝงทั้ง 4 ในรูปแบบประหยัดที่พัฒนาขึ้น สามารถอธิบายความแปรปรวนของความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวได้ถึงร้อยละ 75 นั่นหมายถึง ตัวแปรแฝงทั้ง 4 ตัว เป็นปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความพึงพอใจนักท่องเที่ยว ต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงได้สูงถึง 75 เปอร์เซ็นต์ สำหรับตัวแปรแฝงที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ มุมมองด้านวัฒนธรรม (CA) ความคาดหวังต่อผลิตภัณฑ์ การท่องเที่ยว (TPE) ความพึงพอใจด้านราคา (CS) ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ คุณลักษณะของนักท่องเที่ยว (TDA) มุมมองด้านวัฒนธรรม (CA) และความคาดหวังในผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว (TPE)
The Causal Factors Affecting the Satisfaction Of International Tourists with GMS: A Case Study in Thailand, Lao People’s Democratic Republic and Republic of the Union of Myanmar
The purpose of this research “The Causal Factors Affecting the Satisfaction Of International Tourists With GMS: A Case Study in Thailand, Lao People’s Democratic Republic and Republic of the Union of Myanmar” was to 1) study the causal factors affecting international tourist satisfaction for tourist destinations with GMS. 2) examine relationship between the causal factors affecting international tourist satisfaction and manifest variable 3) develop and validate the causal factors affecting international tourist satisfaction with tourist destinations in GMS by using the structure equation model. The population in this research is 10,157473 international tourists in GMS and the sample consisted of 1,139 foreign tourists in GMS. The data was collected through a questionnaire on the social context of foreign tourist in Thailand, Lao People’s Democratic Republic and Republic of the Union of Myanmar. Four latent variables which were the tourist demographic aspect (TDA), the cultural aspect (CA), tourism product expectation (TPE), cost satisfaction (CS) and tourist satisfaction were used in this study. This research instrument was a set of questionnaires in English. Data were analyzed by descriptive statistics and LISREL was used to develop and validate the causal relationship model.
Result indicates that all 14 manifest variables are related which is confirmed by the high level of the correlation coefficient between 14 manifest variables. All manifest variables can be the factors of the 4 latent variables which are confirmed by factor analysis. The parsimony model that was analysis by LISREL shows that all 4 latent variables can be the causal fact of international tourist satisfaction by Goodness of fit at: χ2 = 208.69, df=56, GFI=0.97, AGFI= 0.95, CFI=0.98, RMSEA= 0.049. The variables in the parsimony model accounted for 75 percent of variance of international tourist satisfaction with GMS which means all the variables including TDA, CA, TPE, CS are the causal factors affecting the tourist satisfaction with GMS for 75%. Variables with statistical significance that had a direct effect on international tourist satisfaction were the cultural aspect (CA), tourism product expectation (TPE) and variables with statistical significance that had an indirect effect on tourist satisfaction were tourist demographic aspects (TPE), the cultural aspect (CA) and tourism product expectation (TPE).
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์