การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว : กรณีศึกษาจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

สมเดช มุงเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในจังหวัดเชียงรายเกี่ยวกับปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดที่มีอิทธิพลต่อการเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าว มาตรฐานการจ้างงานและสภาพการทำงาน และความพึงพอใจกับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานประกอบการในจังหวัดเชียงรายเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจจ้างแรงงานต่างด้าว ความพึงพอใจต่อแรงงานไทยกับแรงานต่างด้าว มาตรฐานการจ้างงานและสภาพการทำงาน และเพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวที่มีประสิทธิภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารสถานประกอบการจำนวน 331 คน และใช้การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างแรงงานต่างด้าวจำนวน 368 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ รวมทั้งใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์

ผลการวิจัยพบว่า ความยากจนเป็นปัจจัยผลักดันที่สำคัญและอัตราค่าจ้างสูงเป็นปัจจัยดึงดูดสำคัญที่มีอิทธิพลต่อแรงงานต่างด้าวในการเข้ามาทำงานในจังหวัดเชียงราย แรงงานต่างด้าวที่ทำงานในสถานประกอบการต่างประเภทกันมี ความพึงพอใจในงานที่ทำแตกต่างกัน ปัจจัยด้านแรงงานที่สำคัญที่สุดคือ การขาดแคลนแรงงานมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริหารสถานประกอบการในการจ้างแรงงานต่างด้าว ผู้บริหารสถานประกอบการมีความพึงพอใจต่อแรงงานไทยมากกว่าแรงงานต่างด้าว แรงงานต่างด้าวและผู้บริหารสถานประกอบการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานการจ้างงานและสภาพการทำงานในระดับปานกลาง และจากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่า มาตรฐานการจ้างงานและสภาพการทำงานสามารถใช้พยากรณ์ความพึงพอใจในงานของแรงงานต่างด้าวอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 มีค่าพยากรณ์ร้อยละ 49.5 (R2 = .495)

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการบริหารจัดการระดับชาติมีดังนี้ รัฐบาลควรกำหนดนโยบายการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวโดยตราเป็นพระราชบัญญัติ ควรกระจายศูนย์ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติไปในจังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวทำงานอยู่จำนวนมาก ควรมีขั้นตอนดำเนินการนำเข้าแรงงานตาม MOU ที่รวดเร็วและควรมีต้นทุนดำเนินการให้ถูกลง ควรประสานงานให้มีเจ้าหน้าที่ของสถานทูตประเทศต้นทางมาดูแลความเป็นอยู่และช่วยเหลือแก้ปัญหาต่างๆ ที่ประสบจากการทำงานของแรงงานที่เข้ามาทำงานตาม MOU และควรกระจายอำนาจการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวไปสู่ระดับจังหวัด ส่วนข้อเสนอแนะสำหรับจังหวัดเชียงรายมีดังนี้ ควรเร่งเสนอรัฐบาลตรากฎหมายจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่บริเวณชายแดนให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วเพื่อตั้งสถานประกอบการที่มีความจำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าว ควรมอบหมายให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดจัดการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการจ้างงานและการคุ้มครองแรงงานให้แก่นายจ้าง ควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบสถานประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าวให้ปฏิบัติตามกฎหมาย และควรกำกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเข้มงวด

 

The Foreign Workers Management : A Case Study in Chiang Rai Province

The purposes of this study were: to examine the foreign workers’ opinion toward labor mobility into Chiang Rai Province on the push factors and pull factors that influence the labors’ entry, the employment standard and current working circumstance, and the labors’ satisfaction on the current work status; and to investigate the entrepreneurial administrators on their opinions toward the influential factors in employing the foreign workers, their satisfaction toward the Thai labors and foreign workers, the employment standard and their working circumstances, and to scrutinize the effective strategies for managing the foreign workers. Data were collected through a series of questionnaires with 331 entrepreneurs in association with the conducting interviews with 368 foreign workers and 15 specialists. The data were analyzed utilizing percentage, mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA, multiple regression analysis, and content analysis with the interviews. The findings are revealed as follows.

Poverty and high wage were the most important push and pull factors respectively that influence the foreign factors to enter into the employment in Chiang Rai Province. The foreign workers from different employment settings showed different degrees of satisfaction towards their works and they also held different types of working problems. The most important laboring factors included: the shortage of influential labors toward the employers’ decision in hiring foreign workers. Most of the employers were satisfied with Thai labors more than the foreign workers and these entrepreneurs’ opinion toward the employment standard and working circumstance at a moderate level. From the multiple regression analysis, it appeared that the employment standard and working circumstances could predict the foreign workers’ satisfaction at a statistical significance at level .05 with the predictive value at 49.5 % (R2 = .495).

The recommendations for policy makers and national management include that: the government needs to set up the management policy based on the Act of Foreign Worker, decentralize the Proof of Nationality Center to the provinces containing a number of foreign workers, set up systemic and fast procedure of importing foreign workers in accordance with the MOU, have a low working implementation capital, coordinate with the embassy officers from the original countries to look after these labors and solve the problems faced by these labors while working under the MOU, and authorize the provinces to independently manage the activities related to foreign workers. The suggestions are also enacted directly to Chiang Rai Province in which the government needs to enforce the law to set up the special economic zone in the bordering areas in order to establish the entrepreneurial settings which need foreign workers. It is also recommended to assign the Provincial Labor Protection and Welfare Office to provide trainings on the employment standard and labor protection for the entrepreneurs. Thus, the local administration organization should be authorized to investigate the working places which employ the foreign workers to follow the law, and the related organizations need to strongly follow the legal measures.

Article Details

บท
บทความ