ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของประชาชนชายแดนไทย-ลาว

Main Article Content

เบญจวรรณ บุณยรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเพื่อเสนอแนวคิดในการกำหนดมาตรการภาครัฐเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูลจากการประชุมกลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ส่วนการสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

จากผลการศึกษาพบว่า

1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ชายแดนไทย-ลาว พบว่า ตัวแปรพยากรณ์ที่ดีของพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเรียงตามลำดับความสำคัญคือ แนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  (X3) การเพิ่มขึ้นของประชากร (X1) และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (X7) ตัวแปรชุดนี้ร่วมกันสามารถพยากรณ์ความแปรปรวนของพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ร้อยละ 33.7

2. สมการพยากรณ์พฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชน ชายแดนไทย-ลาว ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้  

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ

{Y}' =0.436 + 0.286X3 + 0.244X1 + 0.317X7

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

 \inline {Z}'_{2}  =0.232Z3 + 0.223Z1 + 0.238Z7

3. แนวคิดที่ในการกำหนดมาตรการภาครัฐเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้แก่

3.1 การให้การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ

3.2 การสร้างจิตสำนึกแห่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นการทำให้บุคคล เห็นคุณค่าและตระหนัก ในสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ รวมทั้งผลกระทบ จากการทำกิจกรรม ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความรู้สึก รับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ระหว่างสิ่งแวดล้อม และการพัฒนา การสร้างจิตสำนึก โดยการให้การศึกษา [1] ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตใจ ของบุคคล และยังมีผลต่อ พฤติกรรม ของบุคคล ให้มีการเปลี่ยนแปลง การดำเนินชีวิต ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกลมกลืน กับธรรมชาติ

3.3 การส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยให้เอื้อต่อสิ่งแวดล้อม ดำรงชีวิต โดยสอดคล้องกับธรรมชาติ ซึ่งการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม ที่เอื้อต่อสิ่งแวดล้อมนี้ จะเป็นสิ่งที่เกิดตามมา จากการให้การศึกษา และการสร้างจิตสำนึก ทำให้มีการดำรงชีวิต โดยไม่เบียดเบียนธรรมชาติ

 

The Factors affecting Behavior on Natural and Environmental Conservation of people in border Thai - LAO PDR.

The purposes of this study were: to investigate factors affecting bahaviors on natural and environmental resources conservation of pepole in Thai-Lao border and to propose practical suggestions to formulate goverment measures on natural and environmental conservation. Research instruments were questionnaire and data-record form for focus-group discussion. Quantitative data analysis involved frequency, percentage, mean, standard deviation, and multiple regression. Qualitative data analysis from the interviewed employed content analysis technique with an emphasis on indentifying and clarifying for the phenomena that deviate or contradict with the mainstream practice. The findings revealed that:

1. Predictive variables in sequence of importance were: 1) principles on natural and environmental resources conservation (X3); 2) an increase of population (X1); and 3) strategic management schemes (X7). This set of varibles could collectively hold 33.7% confidence in predicting the variance of people’s behaviors on natural and environmental resources conservation.

2. The equations for predicting people’s behaviors on natural and environmental resources conservation in Thai-Lao boder were formulated in raw-score and stadard-score formulas as follows:

Equation in raw-score formula:

{Y}'=0.436 + 0.286X3 + 0.244X1 + 0.317X7

Equation in standard-score formula:

\inline {Z}'_{2} =0.232Z3 + 0.223Z1 + 0.238Z7

3. Practical suggestions in formulating goverment measures on natural and environmental resources conservation were proposed as follows:

3.1 Integrating natural and environmental resources conservation practices in the classroom context with an emphasis on a learner-center approach.

3.2 Promoting people’s awareness on natural and environmental resources conservation. The awareness-raising campaign should aim at promoting public mindedness attributes at the individual level that include awareness raising about benefits of natural and environmental resources, impacts of activities affecting

3.3 Encouraging people to change their behaviors to live in harmony with the nature. The change of people’s lifestyle sensitive to natural and environmental conservation could achieve by means of education and awareness-raising campaign

Article Details

บท
บทความ