การพัฒนากระบวนการสอนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

กรกนก พากิ่ง
บังอร กองอิ้ม
กมลหทัย แวงวาสิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการสอนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนตามกระบวนการสอน ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์รายด้านและโดยรวม 3) เพื่อศึกษาคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนตามกระบวนการสอนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนหลังเรียน ตามกระบวนการสอนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนเสิงสาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 จำนวนนักเรียน 48 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) กระบวนการสอนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องสารรอบตัว จำนวน 12 ชั่วโมง 2) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องสารรอบตัว เป็นแบบทดสอบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 4 ฉบับ ฉบับละ 20 ข้อ รวม 80 ข้อและ 4) แบบวัดความพอใจในการเรียนจำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการสอนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนการสอนที่สำคัญ ได้แก่ ขั้นเตรียม (Preparation) ขั้นปฏิบัติการ (Operation) และขั้นการนำไปใช้ (Application) นักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการสอนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์มากกว่าการสอนด้วยวิธีสอนตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในระยะ B2 สูงกว่าระยะอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05นักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเพิ่มขึ้นในการทดลองทุกระยะตามลำดับ โดยในระยะ B2 คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นมากที่สุด และนักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนด้วยกระบวนการสอนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

 

Development Instructional Process that support Creative Thinking in Science Mattayomsuksa 1

This research aimed (1) to develop teaching process that promote scientific creative thinking (2) to study and compare the academic achievements of the scientific creative thinking after using the promoting teaching process in each aspect and overall(3) to study the leaning achievements from the developed teaching process and (4) to study the students’ satisfaction. The sample group consisted of 48 students who studies in Muthayomsuksa 1/2 in the first semester of academic year 2012 in Soeng-Sang school, the secondary educational service area office 31, which selected by cluster random sampling method. The research tools comprised of 1) 12 hours of teaching process that promoting on scientific creative thinking on the subject of substance around us for Muthayomsuksa I 2) the assessment test of scientific creative thinking 3) the assessment test on the subject of substance around us which had80 questions, 4 assessment tests with 20 questions 4 multiple choices, in each test and 4) 20 questionnaire of the students’ satisfaction. The statistics used in the data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test (dependent samples) The findings were as follows: 1) The promoting teaching process of scientific creative thinking consisted of important teaching stages such as preparation, operation and application. 2) The academic achievements taught by the promoting teaching process of scientific creative thinking were statistically significantly at the 0.05 level higher than conventional teaching process. Moreover, B2 stage was also higher than other stages at statistically significantly of 0.05 level. 3) The academic achievements of students were continuously improved especially in B2 stage which was the most significant improvement. 4) Students were satisfied with this teaching process.

Article Details

บท
บทความ