การบูรณาการการบริหารจัดการสวัสดิการสังคม เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนโดยยึดชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษาชุมชนตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

Main Article Content

พิมพ์ฉัตร รสสุธรรม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษาบริบทชุมชนตำบลเวียงตาล ทั้งในอดีตและปัจจุบัน สภาพปัญหาและสาเหตุความยากจนในชุมชนตำบลเวียงตาลเพื่อการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการสำหรับแกนนำกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (ปลูกหญ้าแพงโคล่า) ก่อให้เกิดการต่อยอดทางความรู้และนำไปสู่การปฏิบัติของแกนนำกลุ่ม และเพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ดังกล่าว

วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research : PAR) ระหว่างภาคีฝ่ายต่างๆ เช่น สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ชาวบ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลและผู้วิจัย โดยแบ่งขั้นตอนในการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ขั้นตอนเตรียมความพร้อมของตำบล ส่วนที่สอง คือ กระบวนการเสริมสร้างการพัฒนาศักยภาพของตำบลในการแก้ไขปัญหาความยากจน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การจัดเวที และการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษา พบว่า

1. บริบทชุมชนตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ต.เวียงตาล เป็นตำบลในเขตการปกครองของ อ.ห้างฉัตร โดยตั้งอยู่ทางทิศเหนือของ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง มีลักษณะพื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 เป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ที่เหลือ 2 ใน 3 เป็นที่ราบลุ่มและที่ดินซึ่งเป็นบริเวณที่ใช้ในการเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย พื้นที่ ต.เวียงตาล มีจำนวน 11 หมู่บ้าน มีพื้นที่ประมาณ 107.186 ตารางกิโลเมตร (66,991 ไร่ 1 งาน) รวมมีประชากรทั้งสิ้น 8,829 คน โดยแยกเป็นชาย 4,327 คน หญิง 4,502 คน ประชากรใน ต.เวียงตาล ส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เพื่อจำหน่ายและบริโภคเป็นอาชีพหลัก อาชีพรอง ได้แก่ รับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมในตำบล หรือในอำเภอ หรือในจังหวัดลำปาง และอาชีพค้าขาย โดยมีพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 7,570 ไร่

2. บริบทคนจนในชุมชนตำบลเวียงตาล จากการศึกษา สามารถแบ่งประเภทคนจนได้ 3 ประเภท คือ

1.) คนจนพื้นฐานหรือคนจนเชิงกายภาพ มีน้อยมาก (ประมาณร้อยละ 5) ได้แก่ ผู้พิการหรือเป็นผู้สูงอายุ

2.)  คนเสี่ยงน้อย คนใกล้บ้าน คนเกือบจน พบทั่วไป (ประมาณร้อยละ 50) ได้แก่ กลุ่มคนจน เนื่องจากไม่ทำงาน และไม่มีหนทางในการหาอาชีพ

3.)  คนจนเชิงเปรียบเทียบ คนจนเชิงสัมพัทธ์ พบทั่วไป (ประมาณร้อยละ 45) ได้แก่ กลุ่มคนจน เนื่องจากประสบภาวะขาดทุนจากการประกอบอาชีพ

3. การศึกษาศักยภาพด้านการบริหารจัดการสำหรับแกนนำกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (ปลูกหญ้าแพงโคล่า)

จากการศึกษา พบว่า การพัฒนาศักยภาพของกลุ่มฯ สามารถทำได้ด้วยปัจจัยทางด้านสังคม เช่น การสร้างความต่อเนื่องของการพบปะของสมาชิกโดยใช้กิจกรรมของกลุ่มเป็นตัวเชื่อม การแยกกลุ่มกิจกรรมจากกลุ่มใหญ่มาเป็นกลุ่มย่อย ทำให้คนจนกล้าเข้ามาร่วมมากขึ้น การกระตุ้นให้มีการจัดกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอันจะนำไปสู่การหาทางแก้ปัญหาได้ และการมีกลุ่มในพื้นที่เข้มแข็งหรือประสบความสำเร็จมาก่อนมาเป็นพี่เลี้ยง

ให้คำปรึกษาต่างๆ จะทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น

4.การศึกษากระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์กลุ่มวิสาหกิจชุมชน (ปลูกหญ้าแพงโคล่า)

จากองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ทำให้สามารถนำมากำหนดยุทธศาสตร์ การพัฒนาศักยภาพของคนจน และการพัฒนากลุ่มหรือองค์กรชุมชน โดยยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพของคนจน จะประกอบด้วย การเน้นการมีส่วนร่วม การพัฒนาแกนนำและการเชื่อมโยงทุนทางสังคม

ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มหรือองค์กรชุมชน ประกอบด้วยการขยายเครือข่ายและภาคีร่วม การหาปัญหาร่วม และการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน

 

The purposes of the study were to 1) explore problems and causes of poverty within the community context from the past to present, as the mean to develop administrative ability for community enterprise’s leaders  (Pangcola grass agriculture) as well as to expand knowledge which would lead to the practice among enterprise’s leaders, and 2) study the format of community enterprise strategy.

Participation Action Research (PAR) is used to conduct this research with the coordination of allied local group such as members of community enterprises, community members, Tambon Administration Organization, and the researcher.

The process of this research is divided into 2 steps. The first step is the preparation and the second step is to enhance community’s potentiality development in poverty reduction. Tools used in the study were interviewing, observation, meeting and group discussion.

Results

1. Community background

The community of Tumbon Viangtan, is located on the north of Amphur Hangchat, Lampang. One third of the community area is mountainous and forest like as it closes to national park. The rest of the areas are low land which locals use for agriculture and residence. Tumbon Viangtan composes of 11 villages. It has the population of 8,829 of which 4,327 and 4,502 are male and female respectively. Most of its community members are farmers. The agricultural area is 12 square kilometers in estimate from 107.186 square kilometers in overall community area. Products from farming are for household consumption and for sale. Minor career for farmers includes factory labor within Lampang area and merchant.

2. Poverty context From the study, poor people in the community are divided into 3 categories;

1)  Physical poverty: 5% of population e.g. disabilities and aged people

2)  Conditional poverty: 50% of population e.g. the unemployed people

3)  Comparative and Relative poverty: 45% of population e.g. people who are poor due to occupational loss

3. The study on administrative potential in the group of enterprise’s leaders (Pangcola grass agriculture)

The study finds that, the potential development of the leaders could be done under social factors such as regular members’ meeting with occasional events. It is also found that small group meetings help encouraging poor people to participate. Also, the discussion in a small group could leads to practical solutions. Moreover, recommendation and consultation from the successful groups in other communities could be a very successful guide to the new groups.

4. Strategies on Community Enterprise (Pangcola grass agriculture)

The PAR approach leads to strategy development on Potentiality Strengthens of the poor and the Development of the Community Group/Organization.  Potentiality Strengthens of the Poor Strategy includes participatory approach, building community/ group leaders and finding social capital links. The Development of the Community Group/Organization includes expansion of networks and allied groups, finding mutual problems, and applying local wisdom.

Article Details

บท
บทความ